เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 Topic: " คุณค่าของน้ำพริก "
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เข้าใจและสามารถทำน้ำพริกสูตรต่างๆ ที่มีคุณค่า ถูกหลักโภชนาการ เลือกรับประทานได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง

week9

-->

เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถประยุกต์น้ำพริกต่างๆ ให้เป็นน้ำพริกชนิดใหม่ได้ โดยใช้ส่วนผสมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ได้คุณค่าทางโภชนาการ

Week
Input
Process
Output
Outcome
9
    9 - 13
มี.ค.
58

โจทย์ : น้ำพริกประยุกต์

Key Question :
นักเรียนจะนำความรู้จากการตำน้ำพริกที่ผ่านมาเพื่อประยุกต์เป็นน้ำพริกของตนเองได้อย่างไรบ้าง

เครื่องมือคิด :
-    Brainstorms
-   ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับน้ำพริกที่ได้ตำใน Quarter นี้
-   ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับประโยชน์จากน้ำพริกประยุกต์                   
-    Round Robin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับน้ำพริกประยุกต์ส่วนผสม วิธีการตำน้ำพริก ประยุกต์
-    Show and Share 
-     นำเสนอสูตรน้ำพริกประยุกต์
-     นำเสนอเกี่ยวกับน้ำพริก ในแต่ละภาคของไทย และน้ำพริกประยุกต์
วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูให้นักเรียนดูคลิป “น้ำพริกเห็ดรวม”
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?” “น้ำพริกเห็ดรวมมีส่วนผสมอะไรบ้าง และวิธีการตำอย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับน้ำพริกเห็ดรวม ส่วนผสมวิธีการตำ
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้น้ำพริกอะไรบ้างใน Quarter นี้?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับน้ำพริกทั้งหมดที่ได้เรียนมาใน Quarter นี้
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้จากการตำน้ำพริกมาใช้ในการประยุกต์เป็นน้ำพริกของตนเองได้อย่างไร ใช้ส่วนผสมใดบ้าง และมีวิธีการตำอย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนผสม วิธีการตำน้ำพริกประยุกต์ของแต่ละคน

ภาระงาน
-       สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับน้ำพริกประยุกต์ของแต่ละคน
-       นำเสนอสูตรน้ำพริกประยุกต์
-       นำเสนอการแยกน้ำพริกในแต่ละภาคของไทย และน้ำพริกประยุกต์

ชิ้นงาน
-       สูตรน้ำพริกประยุกต์ของตนเอง
-        น้ำพริกในแต่ละภาคของไทย และน้ำพริกประยุกต์
-        สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
-      เข้าใจที่มาของน้ำพริกแต่ละชนิดและสามารถประยุกต์น้ำพริกต่างๆ ให้เป็นน้ำพริกชนิดใหม่ได้ โดยใช้ส่วนผสมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ได้คุณค่าทางโภชนาการ
-      สามารถนำส่วนผสมต่าง ๆ มาประยุกต์เป็นน้ำพริกที่แปลกใหม่ และมีคุณค่าทางอาหาร อีกทั้งสามารถตำน้ำพริกรับประทานในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกส่วนผสมต่างๆ ในการประยุกต์น้ำพริกได้อย่างเหมาะสม
- นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ (เลือกตำน้ำพริกรับประทานเองได้)

ทักษะการสื่อสาร
- มีเป้าหมายในการนำเสนอน้ำพริกของตนเอง รับฟังการนำเสนอน้ำพริกของกลุ่มอื่นที่แตกต่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้จากการตำน้ำพริกประยุกต์ ให้ผู้อื่นเข้าใจ


Week
Input
Process
Output
Outcome
9
    9 - 13
มี.ค.
58

-        Wall Thinking 
-     ติดชิ้นงานสูตรน้ำพริกประยุกต์ของแต่ละกลุ่ม
-     ติดชิ้นงานน้ำพริกในแต่ละภาคของไทย และน้ำพริกประยุกต์
-     ติดชิ้นงานสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
 - ครู
 - นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
-     บรรยากาศในชั้นเรียน
-     คลิปน้ำพริก “น้ำพริกเห็ดรวม”

ใช้ :
-      นักเรียนเขียน ส่วนผสม วิธีการตำน้ำพริกประยุกต์ของตนเอง
-      นักเรียนนำเสนอน้ำพริกประยุกต์ของตนเอง
(การบ้าน นักเรียนนำสูตรน้ำพริกของตนเองทำให้ผู้ปกครองรับประทานพร้อมข้อเสนอแนะจากผู้ปกครอง)

วันอังคาร ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับน้ำพริกประยุกต์ของนักเรียนที่ได้นำไปทำให้ผู้ปกครองได้ชิม
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้จักน้ำพริกประยุกต์หรือไม่ และมีน้ำพริกอะไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับน้ำพริกประยุกต์ที่รู้จัก
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้จักน้ำพริกประจำแต่ละภาคของไทยหรือไม่?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับน้ำพริกประจำแต่ละภาคของไทย
ใช้ : นักเรียนเขียนน้ำพริกประจำแต่ละภาคของไทย และน้ำพริกประยุกต์

ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการเก็บรวบรวมข้อมูลน้ำพริกในแต่ละภาค และน้ำพริกประยุกต์ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ( ถามผู้รู้ ค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต )
- มีการจัดกลุ่มความรู้ ข้อมูล   ที่ได้จากการสืบค้น จำแนกเป็นประเด็นความรู้เดิม กับประเด็นที่เป็นความรู้ใหม่ หรือนำเสนอประเด็นที่เป็นสาระสำคัญได้อย่างสอดคล้องน่าเชื่อถือ
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการตำน้ำพริกแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้

ทักษะการอยู่ร่วมกัน
เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการตำน้ำพริก ปรุงรสร่วมกับผู้อื่น

ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ออกแบบสูตรน้ำพริกของตนเองได้อย่างสร้างสรรค์และมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม

Week
Input
Process
Output
Outcome
9
    9 - 13
มี.ค.
58

วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
-      ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในวันอังคารที่ผ่านมา
-      นักเรียนนำเสนอน้ำพริกในแต่ละภาคและน้ำพริกประยุกต์
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่ตนเองและเพื่อนๆ นำเสนอ

วันศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์ พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-       “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้?”
-      “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
-      “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้

คุณลักษณะ
มีความพยายาม อดทนในการตำน้ำพริกให้สำเร็จและอร่อย
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากผู้อื่น
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น





กิจกรรม





























ชิ้นงาน


 


 





























1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ16 มีนาคม 2558 เวลา 23:08

    สัปดาห์นี้พี่ๆ ป.2 ได้ดูคลิปการตำน้ำพริกเห็ดรวม ซึ่งเป็นน้ำพริกประยุกต์โดยการนำเห็ดหลายๆ อย่างมารวมเป็นน้ำพริกเมื่อดูคลิปแล้ว ครูและพี่ๆ ได้พูดคุยสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิป โดยพี่ๆ บอกว่า สามารถนำเห็ดหลายๆ อย่างมาเป็นน้ำพริกๆได้ จากนั้นครูให้พี่ๆ ได้ออกแบบน้ำพริกประยุกต์ของตนเอง โดยหลายคนนำน้ำพริกที่ได้เรียนมาเป็นน้ำพริกประยุกต์ของตนเอง เช่น พี่ดาก้า ทำน้ำพริกปลาเค็ม โดยคิดว่าจะใส่ปลาเค็มแทนปลาทู พี่ไอซ์ทำน้ำพริกปลากระป๋อง เมื่อพี่เขียนเสร็จครูให้พี่ได้นำเสนอน้ำพริกของตนเองและนำสูตรน้ำพริกกลับไปทำที่บ้านให้ผู้ปกครองได้ชิม และถ้าใครทำอร่อยและอยากแบ่งปัน ก็ให้นำมารับประทานกับอาหารเที่ยงในวันถัดไป
    วันอังคาร พี่ฟีฟีฟ่า ได้ทำน้ำพริกหมูหยองพริกเผามาให้เพื่อนได้รับประทาน และพี่ไอซ์ ตำน้ำพริกปลากระป๋องมารับประทานเป็นอาหารกลางวัน ครูและนักเรียนสนทนาพูดคุยเกี่ยวกับน้ำพริกประยุกต์ในปัจจุบัน และนักเรียนได้ทบทวนน้ำพริกประจำแต่ละภาคของไทย โดยพี่ๆ ช่วยกันเขียนน้ำพริกที่ตนเองรู้จัก หลังจากนั้นทุกคนได้เขียนแยกน้ำพริกตามแบบของตนเอง จากการเรียนรู้ที่ผ่านมา
    วันพฤหัสบดี พี่ๆ ได้นำเสนอความรู้น้ำพริกแต่ละภาคของไทย และน้ำพริกประยุกต์
    วันศุกร์ทุกคนได้ทบทวนความรู้ที่เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์ และเขียนสรุปตามความสนใจ

    ตอบลบ