เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 Topic: " คุณค่าของน้ำพริก "
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เข้าใจและสามารถทำน้ำพริกสูตรต่างๆ ที่มีคุณค่า ถูกหลักโภชนาการ เลือกรับประทานได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง

week8




เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถเผยแพร่ความรู้จากการตำน้ำพริก การเลือกรับประทาน ตลอดจนเลือกเครื่องเคียงของน้ำพริกแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นอยากรับประทานอีกด้วย
Week
Input
Process
Output
Outcome
8
3 - 7
มี.ค.
58

โจทย์ : นิทรรศการน้ำพริก

Key Question :
นักเรียนจะสร้างแรงบันดาลใจ
ให้ผู้อื่นอยากรับประทานน้ำพริกและสามารถตำน้ำพริกแต่ละชนิดเพื่อรับประทานเองได้อย่างไร

เครื่องมือคิด :
- Brainstorms 
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการตำน้ำพริกเผา
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการออกแบบนิทรรศการน้ำพริกให้น่าสนใจ
- Round Robin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับน้ำพริก รวมทั้งเครื่องเคียงและเครื่องแนมที่ใช้จัดนิทรรศการ
วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง : ครูให้นักเรียนดูคลิป “น้ำพริกเผา”  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?” “น้ำพริกเผามีส่วนผสมอะไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูจากคลิป และส่วนผสมของน้ำพริกเผา
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “น้ำพริกเผามีวิธีการตำอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม :
-    ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการตำน้ำพริกเผา
-    นักเรียนลงมือตำน้ำพริกเผา และประยุกต์เป็นเมนูใหม่ “ขนมปังปิ้งน้ำพริกเผาหมูยอง และไข่พระอาทิตย์รสพริกเผา
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการตำน้ำพริกเผา?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการตำน้ำพริกเผา
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้ตำน้ำพริกกี่ชนิดแล้ว แต่ละชนิดเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?”
ภาระงาน
-       สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการตำน้ำพริกเผา
-       วิเคราะห์ สังเคราะห์ส่วนผสมต่างๆ ที่ใช้ในการตำน้ำพริกเผา
-       สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการออกแบบนิทรรศการน้ำพริกให้น่าสนใจ
-       นำเสนอน้ำพริกต่างๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจและเกิดแรงบันดาลใจที่อยากรับประทานและสามารถตำรับประทานเองได้
-       วางแผนเตรียมชาร์ตความรู้ ส่วนผสม อุปกรณ์ในการตำน้ำพริกในการจัดนิทรรศการน้ำพริก
ความรู้
- เข้าใจและสามารถเผยแพร่ความรู้จากการตำน้ำพริก เลือกรับประทาน ตลอดจนเลือกเครื่องเคียงของน้ำพริกแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นอยากรับประทานอีกด้วย
- สามารถตำน้ำพริกต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว นำเสนอให้ผู้อื่นได้เข้าใจ  อีกทั้งสามารถนำกลับไปตำรับประทานเองได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้ส่วนผสมที่มีอยู่ในปรุงน้ำพริกแต่ละชนิดให้อร่อยและเหมาะสม
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและมีการวางแผนในการปรุงน้ำพริกและเลือกเครื่องเคียง เครื่องแนม
 - นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ (เลือกตำน้ำพริกรับประทานเองได้)
- นำเสนอความรู้จากการตำน้ำพริกให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ร่วมกันได้




Week
Input
Process
Output
Outcome
8
3 - 7
มี.ค.
58

- Show and Share 
- นำเสนอน้ำพริกแต่ละชนิด
- นำเสนอชาร์ตความรู้ที่ใช้แสดงนิทรรศการน้ำพริก
- Wall Thinking
-     ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับน้ำพริก (ส่วนผสม วิธีการตำ และประโยชน์จากการรับประทานน้ำพริก)
-     ติดชิ้นงานสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
 - ครู
- นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- บรรยากาศในโรงเรียน
- คลิป “น้ำพริกเผา” 
- สื่อจริง ส่วนผสมของน้ำพริกต่างๆ เช่น พริก กะปิ เนื้อสัตว์ (ปลาทู หมู ) ผักต่างๆ ฯลฯ
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาทบทวนเกี่ยวกับน้ำพริกแต่ละชนิดที่ได้ตำมาทั้งหมด (เพื่อเชื่อมโยงสู่การจัดนิทรรศการน้ำพริกในวันพหัสบดี
ชง :
-               นักเรียนแบ่งกลุ่มนักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน จับฉลากเลือกน้ำพริกและวางแผนนำเสนอน้ำพริกต่างๆ ที่ได้เรียนรู้ ใน Quarter นี้
-       ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเผยแพร่วิธีการตำน้ำพริกแต่ละชนิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอน้ำพริกให้ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มทำชาร์ตความรู้เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับน้ำพริกแต่ละชนิดใน “นิทรรศการน้ำพริก”

วันอังคาร ( 2 ชั่วโมง )
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะบอกให้คนอื่นรู้ได้อย่างไรว่าจะมี “นิทรรศการน้ำพริกของชั้น ป.2
เชื่อม :  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์นิทรรศการน้ำพริก
ใช้ : นักเรียนไปประชาสัมพันธ์นิทรรศการน้ำพริกที่ชั้นเรียนต่างๆ
ชิ้นงาน
-       น้ำพริกต่างๆ เครื่องเคียงและเครื่องแนม
-       ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับน้ำพริกเผา
-       ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับน้ำพริกและเมนูอาหารที่ใช้ในการจัดนิทรรศการน้ำพริก
-       สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ทักษะการสื่อสาร
- มีความถูกต้องชัดเจนในการนำเสนอน้ำพริกทั้งการพูด การเขียน และการแสดงออก
- เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้จากการตำน้ำพริกให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านกิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการตำน้ำพริกด้วยวิธีการที่หลากหลาย ( ถามผู้รู้ สืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต )
- บอกสาเหตุของปัญหาที่เกิดระหว่างตำน้ำพริก การนำเสนอน้ำพริกได้
- มีการจัดกลุ่มความรู้ ข้อมูล ที่ได้จากการสืบค้น จำแนกเป็นประเด็นความรู้เดิม กับประเด็นที่เป็นความรู้ใหม่ได้

ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- ทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นขณะตำน้ำพริกและจัดเครื่องเคียง


Week
Input
Process
Output
Outcome
8
3 - 7
มี.ค.
58


วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ใช้ :
-        นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมและแต่ละกลุ่มลงมือตำน้ำพริกและจัดเตรียมของที่จะใช้นำเสนอนิทรรศการน้ำพริก
-        นักเรียนนำเสนอนิทรรศการน้ำพริกให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะต่างๆ

วันศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์ พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-      “นักเรียนคิดว่านิทรรศการน้ำพริกเป็นอย่างไรบ้าง?”
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากนิทรรศการน้ำพริกนี้?”
-      “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
-      “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้


- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในการจัดเตรียมส่วนผสม อุปกรณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอื่นได้
- เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการตำน้ำพริก ปรุงรสร่วมกับผู้อื่น

ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ปรุงรสชาติของน้ำพริกและการจัดจานเครื่องเคียงให้สวยงามและมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม
- แก้ไขปัญหาระหว่างการตำน้ำพริก การนำเสนอน้ำพริกของตนเองได้ เช่น การตอบคำถามจากผู้ชมและชิม

คุณลักษณะ
มีความพยายาม อดทนในการหาข้อมูล การตำน้ำพริกให้สำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็นขณะปรุงน้ำพริกและขณะนำเสนอนิทรรศการน้ำพริก
- เคารพ ยอมรับและรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- รับผิดชอบต่อตนเองในการเตรียมส่วนผสมและอุปกรณ์ละสิ่งอื่นๆ
- อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

กิจกรรม

























ขิ้นงาน















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ๆ ครูและพี่ๆ ได้ตกลงกันว่าจะทำน้ำพริกเผา โดยครูให้พี่ๆ ดูคลิปการทำน้ำพริกเผาอีกครั้งเพื่อเป็นการทบทวนวิธีการทำ หลังจากนั้นทุกคนลงมือปฏิบัติ เมื่อได้น้ำพริกเผาแล้ว ทุกคนได้ร่วมกันชิมน้ำพริกเผา โดยนำขนมปังที่เตรียมมาปิ้ง ทาด้วยน้ำพริกเผาและโรยหน้าด้วยหมูหยอง และอีกเมนูหนึ่งที่พี่ๆ ได้ประยุกต์จากน้ำพริกเผาคือ ไข่พระอาทิตย์รสน้ำพริกเผา เมื่อทำทุกเมนูเรียบร้อยทุกคนก็ได้ร่วมชิม และพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรสชาติน้ำพริกเผา และอาหารที่ประยุกต์จากน้ำพริกเผาทั้งสองอย่าง (ขนมปังปิ้งไส้น้ำพริกเผาหมูหยองและไข่พระอาทิตย์รสน้ำพริกเผา) จากนั้นพี่ๆ ได้จับฉลากแบ่งกลุ่มเพื่อเลือกน้ำพริกที่จะให้จัดนิทรรศการน้ำพริกเผา เมื่อทุกกลุ่มได้น้ำพริกแล้วจึงคิดเมนูอาหารจากน้ำพริกของตนเอง ดังนี้
    กลุ่มที่ 1 ข้าวคลุกน้ำพริกกะปิ กลุ่มที่ 2 ขนมจีน น้ำพริกปลาทู
    กลุ่มที่ 3 ไข่คั่วน้ำพริกปลาร้าบอง กลุ่มที่ 4 ขนมปังน้ำพริกเผาหมูหยอง
    กลุ่มที่ 5 หมี่ยำน้ำพริกลงเรือ กลุ่มที่ 6 ข้าวผัดน้ำพริกอ่อง
    กลุ่มที่ 7 ข้าวจี่น้ำพริกหนุ่ม
    หลังจากนั้นแต่ละกลุ่มออกแบบชาร์ตความรู้น้ำพริกและเมนูอาหารจากน้ำพริกของกลุ่มตนเอง
    วันอังคาร พี่ๆ ช่วยกันตกแต่งชาร์ตความรู้น้ำพริกและเมนูอาหารจากน้ำพริกของกลุ่มตนเอง และนำเสนอหน้าชั้นเรียน ไม่ได้ออกไปประชาสัมพันธ์นิทรรศการตามแผนที่วางไว้และเลื่อนจัดนิทรรศการไปในวันศุกร์ เนื่องวันพุธมีการปิดเรียน และพี่ๆ อาจเตรียมวัตถุดิบต่างๆ ยังไม่ครบ จึงได้มีการเตรียมมาก่อนในวันพฤหัสบดี
    วันพฤหัสบดีพี่ๆ ได้เตรียมวัตถุดิบอุปกณ์ต่างๆ มา ทุกคนช่วยกันตรวจเช็คความพร้อม และออกไปประชาสัมพันธ์ให้พี่ๆ น้อง ๆ ในโรงเรียนได้มาร่วมนิทรรศการน้ำพริก
    วันศุกร์พี่ๆ ได้ลงมือตำน้ำพริก และประกอบอาหารตั้งแต่เช้า ทุกคนตั้งใจทำเมนูของตนเอง และในช่วงบ่าย นิทรรศการน้ำพริกก็พร้อม มีพี่น้องร่วมร่วมฟังและให้กำลังใจ โดยพี่ๆ ป.2 ได้นำเสนอวิธีการตำน้ำพริก อาหารจากเมนูน้ำพริกให้ทุกคนได้ฟัง จากนั้นร่วมชิมอาหารทุกอย่าง เมื่อนิทรรศการน้ำพริกจบลง ทุกคนช่วยกันเก็บสถานที่ และกลับมานั่งแลกเปลี่ยนสนทนาสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “เด็กๆ รู้สึกอย่างไร ตอนที่คุณครู พี่ๆ น้องๆมานั่งฟังเรานำเสนอ”
    พี่ไอซ์ “ตื่นเต้นค่ะ พูดไม่ออก”
    พี่วาหวา “หนูตื่นเต้นจนพูดเสียงเบาค่ะ”
    เพื่อนคนอื่นๆ ก็ตื่นเต้นเช่นกัน
    ครูถามต่อ “พี่มาชิมอาหารจนหมดเด็กรู้สึกเช่นไร”
    พีฟีฟ่า “หนูดีใจแสดงว่าอร่อยค่ะ แต่ก็เสียใจที่ไม่ได้ชิมเลย”
    พี่ต้นกล้า “ดีใจครับที่พี่ชอบ และได้แบ่งปัน”
    พี่เจมส์ “ดีใจมากครับ”
    จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งสัปดาห์และนักเรียนสรุปองค์ความรู้รายสัปดาห์เป็นการบ้าน

    ตอบลบ