เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 Topic: " คุณค่าของน้ำพริก "
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เข้าใจและสามารถทำน้ำพริกสูตรต่างๆ ที่มีคุณค่า ถูกหลักโภชนาการ เลือกรับประทานได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง

week7

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถนำส่วนผสมต่างๆ มาตำเป็นน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม ตลอดจนเลือกเครื่องเคียงของน้ำพริกแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสม และนำ    ความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
7
23 - 27
ก.พ.
58

โจทย์ :
- น้ำพริกอ่อง
- น้ำพริกหนุ่ม

Key Questions :
-       นักเรียนจะตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มได้อย่างไร
-       น้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง

เครื่องมือคิด :
-   Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับส่วนผสม วิธีปรุงน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม รวมทั้งเครื่องเคียง เครื่องแนม
-   Round Robin 
-      แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม
วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
-      นักเรียนดูคลิป “ผักพื้นบ้าน”
-      ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเรียนรู้จักผักอะไรบ้าง เคยเจอที่ไหนบ้าง?” “เคยรับประทานหรือไม่รสชาติเป็นอย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับผักพื้นที่ตนเองรู้จัก และรสชาติของผักนั้นๆ
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะแยกประเภทผักจากการรับประทานได้อย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการแยกปะเภทผักจากการรับประทาน เช่น หัว, ใบ-ดอกและผล)
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้จักน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มหรือไม่?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับที่มาของน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่า น้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มมีส่วนผสมและวิธีการตำอย่างไรบ้าง?”
ภาระงาน
-       สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับ พริกที่ใช้ ส่วนผสม วิธีตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม
-       วางแผนเตรียมส่วนผสม อุปกรณ์ในการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม
-       วางแผนพัฒนาสูตรการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม

ชิ้นงาน
-       น้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม
-       ชาร์ตความรู้ (Web) เกี่ยวกับการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม (ส่วนผสม อุปกรณ์และวิธีการตำ
-       สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
- เข้าใจและสามารถนำส่วนผสมต่างๆ มาตำเป็นน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม ตลอดจนเลือกเครื่องเคียงของน้ำพริกแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสม และนำ    ความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ใช้ชีวิตประจำวันได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้ส่วนผสมที่มีอยู่ในปรุงน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มให้อร่อยคุ้มค่าและเหมาะสม
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและมีการวางแผนในการปรุงน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม เครื่องเคียง เครื่องแนม (เช่นแคบหมู ผักสด/ลวก)
 - นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ (เลือกตำน้ำพริกรับประทานเองได้)

Week
Input
Process
Output
Outcome
7
23 - 27
ก.พ.
58

-      แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับเครื่องเคียงและเครื่องแนมที่จะนำมารับประทานกับน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม
-          Round Table จัดประเภทของผักตามการรับประทาน (หัว, ใบ-ดอก, ผล)
-          Show and Share
-     นำเสนอชาร์ตความรู้ (Web) เกี่ยวกับวิธีตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม (ส่วนผสม อุปกรณ์และวิธีการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม)
-     นำเสนอน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม
-          Wall Thinking
-     Web ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม (ส่วนผสม อุปกรณ์และวิธีการตำ
-     ติดชิ้นงานสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์


เชื่อม :
-        ครูและนักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนผสมและวิธีการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม
-        นักเรียนแต่ละกลุ่มหาข้อมูลน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มพร้อมทำชาร์ตความรู้ (Web) ส่วนผสม วิธีการตำน้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม และผักพื้นบ้านรับประทานกับน้ำพริก (อินเทอร์เน็ต ห้องสมุด หรือผู้รู้ )

วันอังคาร ( 2 ชั่วโมง )
เชื่อม :
-      นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ ( Show  and Share ) ชาร์ตความรู้ (Web) เกี่ยวกับส่วนผสม วิธีการตำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม
-      ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนผสม วิธีการตำน้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม และเสนอแนะเพิ่มเติม

วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง : ครูตั้งคำถามกระการคิด “นักเรียนจะวางแผนในการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มอย่างไรบ้าง?”

ทักษะการสื่อสาร
- มีเป้าหมายในการนำเสนอน้ำพริกของตนเอง รับฟังการนำเสนอน้ำพริกของกลุ่มอื่นที่แตกต่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความถูกต้องชัดเจนในการนำเสนอน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มทั้งการพูด การเขียน และการแสดงออก
- เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้

ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มด้วยวิธีการที่หลากหลาย
( ถามผู้รู้ ค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต )
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม แก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้

ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- ทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นขณะตำน้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่องจัดเครื่องเคียงและเครื่องแนม




Week
Input
Process
Output
Outcome
7
23 - 27
ก.พ.
58

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
 - ครู
 - นักเรียน
- ผู้ปกครอง

บรรยากาศ/สื่อ :
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- คลิป “การตำน้ำพริกอ่องและนำพริกหนุ่ม”
- แท็บเล็ต
- สื่อจริง ส่วนผสมของน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม เช่น กะปิ พริก ผัก ฯลฯ
เชื่อม :
-      นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ (เช่น เตรียมส่วนผสมต่างๆ)/ส่วนผสม/อุปกรณ์ ตลอดจนเครื่องเคียงและเครื่องแนมเพื่อใช้ในการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม
-      ครูและนักเรียนร่วมสนทนาทบทวนเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละกลุ่ม

วันศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
-      นักเรียนดูคลิปเกี่ยวกับ “การตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม”
-      ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะมีวิธีการตำน้ำพริกอย่างไรได้บ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูในคลิป
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม เตรียมเครื่องเคียงหรือเครื่องแนม พร้อมทั้งจัดจานให้สวยงาม
ชง : นักเรียนสังเกตน้ำพริกและรูปแบบของการจัดจานแต่ละกลุ่ม ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่ารูปแบบการจัดจานน้ำพริกของแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไรบ้าง?”

- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในการจัดเตรียมส่วนผสม อุปกรณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอื่นได้
- เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการตำน้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม ปรุงรสร่วมกับผู้อื่น

ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ปรุงรสชาติของน้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่องและการจัดจานเครื่องเคียงและเครื่องแนมให้สวยงามและมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม
- แก้ไขปัญหาระหว่างการตำน้ำพริกน้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่มของตนเองได้ เช่น น้ำพริกเปรี้ยวจากมะเขือเทศ หรือเผ็ดมากเกินไป

ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มได้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต ห้องสมุด

คุณลักษณะ
มีความพยายาม อดทนในการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มให้สำเร็จ


Week
Input
Process
Output
Outcome
7
23 - 27
ก.พ.
58


เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดจานน้ำพริกของแต่ละกลุ่ม
ชง : ครูและนักเรียนชิมน้ำพริกของแต่ละกลุ่ม ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “น้ำพริกของแต่ละกลุ่มมีรสชาติอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม :
-      ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรสชาติของน้ำพริกและเสนอแนะเพิ่มเติม
-      นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผน แบ่งหน้าที่เตรียมส่วนผสมเพื่อพัฒนาสูตรน้ำพริกของตนเองในวันจันทร์
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อย่างไร?”
-      “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
“นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
(การบ้าน เตรียมส่วนผสมเพื่อพัฒนาสูตรตำน้ำพริกอีกครั้งในวันจันทร์หน้า)

รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็นขณะปรุงน้ำพริกและขณะพัฒนาสูตรน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม
- เคารพ ยอมรับและรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- รับผิดชอบต่อตนเองในการเตรียมส่วนผสมและอุปกรณ์ละสิ่งอื่นๆ
- อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

กิจกรรม



























ชิ้นงาน










1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่7 พี่ๆ ได้โจทย์การตำน้ำพริกหนุ่มและน้ำพริกอ่อง โดยวันจันทร์ครูได้เปิดคลิปการตำน้ำพริกทั้งสองชนิดให้พี่ๆดู จากนั้นให้พี่ๆ ออกแบบการตำน้ำพริกของตนเอง โดยครูมีแท็บเล็ตให้พี่ๆ ได้ค้นคว้าหาข้อมูล หรือหนังสือน้ำพริกจากห้องสมุด โดยเขียนชาร์ตในรูปแบบ Web
    วันอังคารพี่ๆ นำเสนอ Web ของกลุ่มตนเอง และเพื่อนๆ ได้เสนอแนะเพิ่มเติม และคุณครูให้คำแนะนำตามความเหมาะสม เช่น บางกลุ่มค้นหาข้อมูลว่า น้ำพริกหนุ่มไม่ต้องย่างพริก หอมกระเทียมก่อน ครูจึงเสนอแนะว่า ควรย่างพริกก่อน และให้พี่ลองทำทั้งสองสูตรว่าจะเป็นอย่างไร อะไรอร่อยกว่ากัน
    เนื่องจากสัปดาห์นี้ที่โรงเรียนได้ให้นักเรียนห่อข้าวมารับประทานที่โรงเรียน ครูจึงเลื่อนการตำน้ำพริกมาทำในวันพฤหัสบดี เพื่อให้พี่ๆ ได้รับประทานน้ำพริกของตนเอง และให้พี่ๆ ห่อเฉพาะข้าวมาและมารับประทานกับน้ำพริก และไข่ที่นำมาคนละฟอง พี่ๆ เลือกที่จะเจียวไข่ และวันนี้มีผู้ปกครองได้ร่วมกิจกรรมสองคน คือแม่พี่อั๋นและแม่พี่ลาร์ด เมื่อทำเสร็จทุกคน ได้ร่วมสนทนาพูดคุยถึงวิธีการทำอาหารในวันนี้ และพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน โดยมีกลุ่มพี่ก้องบอกว่า ตอนทำน้ำพริกอ่องมะเขือเทศน้อย เลยไม่ค่อยจะเปรี้ยวและตอนตีไข่เสร็จแล้วถ้วยไข่หก ทำให้เหลือไข่ที่จะนำไปเจียวน้อยลง ส่วนกลุ่มอื่นๆ ไม่มีปัญหาในการตำน้ำพริกของตน และทุกคนร่วมรับประทานอาหารกลางวันอย่างเอร็ดอร่อย โดยระหว่างรับประทานน้ำพริกหนุ่ม
    พี่การ์ตูน “ครูครับน้ำพริกหนุ่ม จืดจังเลยครับ”
    ครู “ของพี่กลุ่มไหนค่ะ”
    พี่แม็ค “กลุ่มผมครับ ผมไม่ได้ปรุงรสเลย ตำพริก กระเทียม และหอม ที่ปิ้งแล้วครับ”
    วันศุกร์ครูและพี่ๆ ทบทวนกิจกรรมที่ได้ทำมาทั้งสัปดาห์ และสรุปความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งสัปดาห์นี้

    ตอบลบ