เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 Topic: " คุณค่าของน้ำพริก "
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เข้าใจและสามารถทำน้ำพริกสูตรต่างๆ ที่มีคุณค่า ถูกหลักโภชนาการ เลือกรับประทานได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

Mind Mapping (เนื้อหา/ครู)



เป้าหมาย(Understanding Goal) : เข้าใจและสามารถทำน้ำพริกสูตรต่างๆ ที่มีคุณค่า ถูกหลักโภชนาการ เลือกรับประทานได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง


คำถามหลัก (Big Question):  นักเรียนจะตำและเลือกรับประทานน้ำพริกให้มีคุณค่า และถูกโภชนาการได้อย่างไร

ภูมิหลังของปัญหา


อาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ช่วยทำให้ร่างกายเจริญเติบโต  แข็งแรง  สมบูรณ์  สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆได้ ในปัจจุบันความเร่งรีบในการบริโภค ทำให้วิถีการกินอาหารเปลี่ยนไป อาหารจานด่วน จานเดียวค่อยๆ เข้ามา  ซึ่งอาหารเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ เช่น ไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคอ้วน ฯลฯ  แต่อาหารที่มีประโยชน์และอยู่คู่ครัวไทยมาแต่อดีตอย่างน้ำพริกค่อยๆ หายไป น้ำพริกเป็นอาหารที่บำรุงสุขภาพได้ดี เพราะมีส่วนประกอบของเครื่องเทศหลายอย่าง เช่น กระเทียมป้องกันโรคมะเร็ง บำรุงหัวใจ มะนามช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน วิตามินซีช่วยย่อยอาหาร นอกจากนี้ยังมี ตะไคร้ มะกรูด ฯลฯ ซึ้งล้วนมีประโยชน์ หรือถ้ามีกะปิจะช่วยบำรุงกระดูกและฟัน  และที่สำคัญน้ำพริกกินคู่กับผักนานาชนิดทั้งผักสด ลวก ต้ม หรือนึ่ง ก็ยังจะช่วยเพิ่มวิตามินซีให้กับร่างกาย ลดความอ้วน อีกทั้งน้ำพริกยังเป็นทั้งน้ำจิ้มหรือส่วนประกอบของอาหารอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้นจึงจำเป็นที่นักเรียนจะต้องเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับอาหารประเภทน้ำพริก วิธีการเลือกรับประทาน อีกทั้งเลือกวัตถุดิบในการประกอบเป็นน้ำพริก ให้ปลอดภัยและเหมาะสมให้กับตนเองและผู้อื่นได้





ปฎิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์

ปฏิทินการเรียนรู้
หน่วย “คุณค่าของน้ำพริก”
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 Quarter 4 ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2557
Week
Input
Process
Output
Outcome
1
12-16
..
58
โจทย์ : สร้างฉันทะ/สร้างแรงบันดาลใจ

Key Questions :
-   นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรมากที่สุดใน Quarter นี้ เพราะเหตุใดจึงอยากเรียนเรื่องนั้น
-   นักเรียนจะตั้งชื่อสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ว่าอย่างไร

เครื่องมือคิด :
- Brainstorms 
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการตำน้ำพริกปลาทู
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการตำพริกป่น
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการตั้งชื่อหน่วยการเรียน
- Blackboard Share
 - วิธีตำน้ำพริกปลาทู
 - เสนอชื่อหน่วยการเรียนรู้
- Round Robin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยววิธีทำน้ำพริกปลาทู และพริกป่น
-      Card and Chart เขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้ใน Quarter นี้ พร้อมให้เหตุว่าเพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้
-      Show and Share 
-      นำเสนอ น้ำพริกของตนเอง
-      นำเสนอชาร์ตความรู้การตำน้ำพริก/เครื่องปรุง
- Wall Thinking ติดชิ้นงานชาร์ตวิธีตำน้ำพริกปลาทูและพริกป่น

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
 - ครู
 - นักเรียน


-     ครูให้นักเรียนสังเกต พริก ปลาทู หอม กระเทียม แตงกวา (ส่วนผสมในการตำน้ำพริก)
-     นักเรียนแบ่งกลุ่ม 5-6 คน ลงมือตำน้ำพริกปลาทูจากส่วนผสมและอุปกรณ์ที่มีอยู่และนำเสนอน้ำพริกปลาทูของตนเอง
-     นักเรียนชิมน้ำพริกของเพื่อนกลุ่มอื่นๆ
(การบ้าน นักเรียนเตรียมพริกแห้ง และกระทะสำหรับทำพริกป่น)
-     ครูให้นักเรียนสังเกตพริกแห้งที่นำมา (การบ้านเมื่อวันจันทร์)
-     นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือตำพริกป่นและนำพริกป่นมาทำเป็นพริกเกลือรับประทานกับผลไม้ที่โรงเรียนเช่น มะขามป้อม มะขาม
-     นักเรียนดูคลิปเพลง “น้ำพริก”
- นักเรียนเลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้ โดยผ่านเครื่องมือ Card and Chart จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้ใน Quarter นี้
-        นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยการเรียน เพราะเหตุใดจึงตั้งชื่อนั้น โดยผ่านเครื่องมือ Brainstorms  และ Blackboard Share และร่วมกันทำป้ายชื่อหน่วยการเรียนรู้ “น้ำพริก”
- ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาทั้งสัปดาห์
- นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ภาระงาน
-      แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรสชาติ และส่วนประกอบในน้ำพริกปลาทู
-      เตรียมส่วนผสมอุปกรณ์ในการตำน้ำพริก/ทำพริกป่น
-      แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการคั่วพริก การตำพริกป่น
-      แสดงความคิดเห็นให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้

ชิ้นงาน
น้ำพริกปลาทูและพริกป่น
- ชาร์ตวิธีตำน้ำพริกปลาทูและพริกป่น
- Card and Chard เรื่องที่อยากเรียนรู้
- ป้ายชื่อหน่วยการเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
สามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ใช้ส่วนผสม (เช่น พริก ปลาทู) อุปกรณ์ (เช่น กระทะ ครก สาก)   ที่มีในตำน้ำพริกให้อร่อย
- มีกระบวนการและขั้นตอนในการตำน้ำพริกปลาทูและพริกป่น
- แก้ปัญหาได้ เมื่อน้ำพริกมีรสชาติ เค็ม เผ็ด หรือ หวานเกินไป
- นำความรู้ที่ได้จากการตำน้ำพริกปลาทู และพริกป่น ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

ทักษะการสื่อสาร 
พูดนำเสนอส่วนผสมและวิธีการตำน้ำพริกปลาทู และพริกป่นให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
- รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้อื่น และนำกลับไปพัฒนาให้ดีขึ้น เช่น รสชาติน้ำพริกปลาทูเผ็ดไป ควรเติมเนื้อปลาทูเพิ่มอีกเพื่อให้รสเผ็ดลดลง

ทักษะการจัดการข้อมูล
ลำดับขั้นตอนการทำน้ำพริกปลาทูได้อย่างเหมาะสม
- คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาจากการตำน้ำพริก และกระบวนการทำงานกลุ่ม

ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-      ทำงานเป็นกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นในการปรุงรสชาติน้ำพริกได้
-      มีจิตอาสาในการเตรียมและเก็บอุปกรณ์หลังการทำงานของเพื่อนๆ ในแต่ละกลุ่ม

ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ตกแต่งถ้วยน้ำพริกให้สวยงาม น่ารับประทาน

คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน การร่วมกิจกรรมจนสำเร็จ
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรุงรสชาติน้ำพริก
-  รับผิดชอบ รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการเตรียมส่วนผสม อุปกรณ์ต่างๆ และระหว่างการตำพริกป่น
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น ในการตำน้ำพริก และแสดงความคิดเห็น
2
19-23
ม.ค.
58

โจทย์ : วางแผนการเรียนรู้
                                               
Key Questions :
-     นักเรียนจะออกแบบและวางแผนการเรียนรู้ใน Quarter นี้อย่างไร
-     นักเรียนรู้อะไรบ้างและอยากรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ “น้ำพริก”

เครื่องมือคิด :
- Brainstorms 
-  ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับปฏิทินการเรียนรู้ 
- Blackboard Share 
   - สิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้ 
- Round Robin 
-      แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมในปฏิทินการเรียนรู้ 
-      สนทนาแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับชื่อน้ำพริก
-      สนทนาแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้
-      Show and Share นำเสนอชื่อน้ำพริกที่ได้รับประทาน พร้อมบอกส่วนผสมที่ให้ตำ
-     Wall Thinking 
-      ติดชิ้นงานปฏิทินการเรียนรู้ 10 สัปดาห์
ติดชิ้นงาน Web น้ำพริกที่ได้รับประทาน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
 - ครู
 - นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- สื่อจริงผักชนิดต่างๆ เช่น แตงกวา หอม ผักชี ผักกาด ฯลฯ
- น้ำพริกต่างๆ เช่น น้ำพริกปลาร้าบอง น้ำพริกเผา น้ำพริกตาแดง
-      ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับน้ำพริกหรืออาหารที่ได้รับประทานในวันหยุดที่ผ่านมาและอาหารที่เคยทำรับประทานเอง
-      ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้เกี่ยวกับน้ำพริก โดยผ่านเครื่องมือ Blackboard Share 
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเกี่ยวกับกิจกรรมที่อยากทำในแต่ละสัปดาห์ตลอด Quarter นี้ โดยผ่านเครื่องมือ Blackboard Share 
- นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 2 คนเพื่อจัดทำปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์ ลงในกระดาษ  (A3) สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ ลงกระดาษ (ปรู๊ฟ)
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วเรื่องน้ำพริก และนักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนตามความเข้าใจ
(การบ้าน นักเรียนนำผักพื้นบ้านมาในวันศุกร์)
-      ครูให้นักเรียนสังเกตผักที่นำมา และร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับชื่อและรสชาติของผัก
-        ครูนำน้ำพริก 5 ชนิดและผักที่นักเรียนนำมา ให้นักเรียนชิม โดยแต่ละกลุ่มจะชิมคนละชนิดกัน และร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับชื่อและส่วนผสมของน้ำพริก
-      นักเรียนเขียน Web ชื่อน้ำพริก วัตถุดิบ และผักที่รับประทานคู่กับน้ำพริก
- ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์
- นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้
(การบ้าน นักเรียนสอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับการทำน้ำพริกปลาร้าและน้ำพริกปลาทู)
ภาระงาน
- สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการวางแผนปฏิทินการเรียนรู้
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้
- วิเคราะห์ชื่อ และส่วนผสมของน้ำพริกจากการรับประทาน

ชิ้นงาน
- สิ่งที่รู้แล้วและ สิ่งที่อยากเรียนรู้
เค้าโครงปฏิทินการเรียนรู้ 10สัปดาห์
- สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน (Mind Mapping การ์ตูนช่องหรือบรรยาย)
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้ :
เข้าใจและสามารถวางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกันได้อย่างเป็นขั้นตอน มีเป้าหมาย และสร้างสรรค์

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ออกแบบและเขียน Mind Mapping / ปฏิทินได้
ออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจและสร้างสรรค์
เก็บกวาด ล้างอุปกรณ์หลังการรับประทานเสร็จ
บอกชนิด ชื่อ ของผักที่นำมารับประทานกับน้ำพริกได้
- นำความรู้ที่ได้จากการรับประทานผักไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รู้จักผักชนิดต่างๆ และเลือกรับประทานกับน้ำพริกในชีวิตประจำวัน

ทักษะการสื่อสาร
-      มีมารยาทในการพูดสื่อสารทั้งผู้รับสารและส่งสาร เช่น เป็นผู้เสนอความคิดเห็น และรับรับฟังความคิดเห็น
-      พูดอธิบายชื่อผัก และน้ำพริกให้ผู้อื่นเข้าใจได้

ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำ Mind Mapping ความรู้ก่อนเรียน
จัดลำดับสิ่งที่ต้องการเรียนในปฏิทินรายการเรียนรู้รายสัปดาห์ได้อย่างเหมาะสม
- คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม เช่น แบ่งหน้าที่เพื่อให้งานเสร็จเร็วขึ้นและสวยงาม

ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานเป็นกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้

ทักษะการคิดสร้างสรรค์
-               คิดวางแผนเนื้อหาและกิจกรรมที่อยากเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเรื่องที่อยากเรียน
-               ออกแบบภาพประกอบปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์ สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้ ได้สวยงามเหมาะสมและสร้างสรรค์

คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นได้
-  รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อกลุ่มรับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น
3
26-30 ม.ค.
58


โจทย์ :
- น้ำพริกปลาร้าบอง
- น้ำพริกปลาทู

Key Question :
เราจะทำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูให้อร่อยและมีคุณค่าอย่างไร

เครื่องมือคิด :
- Brainstorms  ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับส่วนผสมหลักของน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู วิธีปรุง เครื่องเคียง เครื่องแนม
- Round Robin 
- แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการทำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
- แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับผักที่รับประทานกับน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
- Show and Share 
  นำเสนอการวางแผนตำพริกน้ำพริกปลาร้าและน้ำพริกปลาทู/ชิม/ข้อเสนอแนะ
- Wall Thinking ติดชิ้นงานใบความรู้สูตรน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูของแต่ละกลุ่ม
- ชักเย่อความคิด ปลาร้าทำให้น้ำพริกอร่อยกว่าปลาทูจริงหรือ

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
 - ครู
 - นักเรียน
 - วิทยากร/ผู้รู้ (แม่ครัวโรงเรียน)

บรรยากาศ/สื่อ :
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- โรงอาหารโรงเรียน
- ผักชนิดต่างๆ
- อุปกรณ์ตำน้ำพริก เช่น ครก สาก เตา ฯลฯ
- วัตถุดิบตำน้ำพริก เช่น พริก ปลาร้าสับ ปลาทู ฯลฯ

- นักเรียนชักเย่อความคิด ปลาร้าทำให้น้ำพริกอร่อยกว่าปลาทูจริงหรือ
 - วิทยาการ (แม่ครัว) สาธิตการทำน้ำพริกปลาร้าบอง ให้นักเรียนดูและชิม
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรสชาติน้ำพริกปลาร้าบอง และปลาร้าเป็นอาหารของคนภาคใด และวิธีการทำปลาร้า
- นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนและออกแบบสูตรการทำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู และเครื่องเคียงหรือเครื่องแนม (นักเรียนสืบค้นข้อมูลนอกเวลาเรียนเพิ่มเติม จากผู้รู้อินเทอร์เน็ต หรือห้องสมุด)
-      นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการทำน้ำพริก ครูและเพื่อนๆ เสนอแนะเพิ่มเติม
- นักเรียนแต่ละกลุ่ม วางแผนงานการเตรียมอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำน้ำพริก
- นักเรียนแต่ละกลุ่มตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
- ครูให้นักเรียนสังเกตการจัดจานของเพื่อนๆ แต่ละกลุ่ม และร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรสชาติของน้ำพริกและเสนอแนะเพิ่มเติม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผน แบ่งหน้าที่เตรียมวัตถุดิบมาพัฒนาสูตรน้ำพริกของตนเอง
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งสัปดาห์พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
 (การบ้าน เตรียมอุปกรณ์มาทำน้ำพริกอีกครั้งหลังปรับปรุงและพัฒนาสูตร)
ภาระงาน
-       สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับ  การทำปลาร้า วัตถุดิบ วิธีทำน้ำพริกจากปลาร้า
-       ออกแบบและวางแผนทำน้ำพริกปลาร้าบอง-ปลาทู
-       บันทึก อัตราส่วนผสม วิธีทำ และความคิดเห็นของผู้ที่ได้ชิม
-       ออกแบบและวางแผนพัฒนาสูตรทำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู

ชิ้นงาน
-       น้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
-       ใบความรู้สูตรน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
-       สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
- เข้าใจเกี่ยวกับวัตถุดิบหลัก ในการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู อีกทั้งสามารถนำวัตถุดิบต่างๆ มาตำเป็นน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูได้
- ตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูรับประทานเองได้ อีกทั้งนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในพื้นถิ่นปรุงเป็นน้ำพริกได้อย่างคุ้มค่าและถูกหลักโภชนาการ
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้ส่วนผสมต่างๆ ที่มีอยู่อย่างเหมาะสมในปรุงน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูให้อร่อยและได้คุณค่าทางอาหาร
- ตำน้ำพริกอย่างมีเป้าหมายและมีการวางแผนในการปรุงน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูให้พอดีจัดจานผัก เครื่องเคียงและเครื่องแนม
- อธิบาย สรุปองค์ความรู้ได้จากการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
- นำความรู้ในการตำน้ำพริกปลาร้าบองและปลาทูไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ (ตำน้ำพริกรับประทานเองได้)

ทักษะการสื่อสาร
พูดอธิบายนำเสนอวัตถุดิบวิธีปรุงน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล

ทักษะ ICT
-  อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลวิธีตำน้ำพริกที่หลากหลาย
- เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์ เช่น สอบถามผู้รู้ อินเทอร์เน็ต

ทักษะการจัดการข้อมูล
- การจัดลำดับข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการปรุงน้ำพริกและการเลือกเครื่องเคียงอย่างเหมาะสม
- คิดและเรียนรู้เกี่ยวกับการปรุงน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูและการจัดเครื่องเคียงให้สวยงาม น่าสนใจและได้คุณค่าทางอาหารเหมาะสม

ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นขณะตำน้ำพริกและจัดเครื่องเคียง

ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ออกแบบตกแต่งจานเครื่องเคียง เครื่องแนม ให้สวยงามและเลือกผักที่รับประทานได้หลากหลาย มีคุณค่าทางอาหารเหมาะสม
- แก้ไขปัญหาระหว่างการตำน้ำพริกของตนเองได้ เช่น ไม่มีมะนาว น้ำปลาย สามารถใช้สิ่งอื่นที่มีอยู่ทดแทนได้

คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการค้นหารข้อมูลการตำน้ำพริก
มีความพยายาม อดทนในการตำน้ำพริกให้สำเร็จและอร่อย
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็นขณะปรุงน้ำพริกหรือขณะพัฒนาผลงาน
4
2-6
ก.พ.
58

โจทย์ : พัฒนาสูตร
-   น้ำพริกปลาร้าบอง
-   น้ำพริกปลาทู

Key Question :
เราจะพัฒนาสูตรการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูให้อร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการได้อย่างไร

เครื่องมือคิด :
-    Brainstorms ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับส่วนผสมหลักของน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู วิธีปรุง เครื่องเคียงน้ำพริก
-    Round Robin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
-    Show and Share 
-     นำเสนอน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูโดยนำไปให้คุณครู พี่ๆและน้องชั้นอื่นๆ ได้ชิม
-     นำเสนอชาร์ตความรู้สูตรน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูและประโยชน์จากวัตถุดิบต่างๆ
-        Mind Mapping สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์
-        Wall Thinking 
-     ติดชิ้นงานชาร์ตสูตรน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูของแต่ละกลุ่ม
-     ติดชิ้นงาน Mind Mapping สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
-     บรรยากาศในชั้นเรียน
-     บริเวณโรงเรียน
-     แท็บเล็ต
-     สื่อจริงวัตถุดิบของน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู เช่น พริก ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ฯลฯ
-    นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู เพื่อค้นหาสูตรที่คิดว่าอร่อยที่สุด เตรียมเครื่องเคียงหรือเครื่องแนม พร้อมทั้งจัดจานให้สวยงาม
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรสชาติ และวิธีการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
- นักเรียนนำเสนอน้ำพริกที่ทำ โดยการนำไปให้คุณครู พี่ๆและน้องชั้นอื่นๆ ได้ชิมพร้อมรับข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-        ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในวันจันทร์ที่ผ่านมา
-        นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อเสนอแนะจากการนำน้ำพริกให้คุณครู พี่และน้องได้ชิมให้เพื่อนๆ และคุณครูรับฟัง
-      นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนชาร์ตความรู้สูตรน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู ประโยชน์ของวัตถุดิบต่างๆ และคุณค่าทางโภชนาการ
-      นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ ( Show  and Share ) ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับสูตรน้ำพริกปลาร้าบอง น้ำพริกปลาทู และประโยชน์ของวัตถุดิบต่างๆ
-      ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาในชาร์ตความรู้ของแต่ละกลุ่ม และอภิปรายร่วมกัน
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
- นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการตำน้ำพริกตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
-      (การบ้าน นักเรียนสอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ)
ภาระงาน
-       บันทึก วัตถุดิบอัตราส่วนผสม วิธีทำ ความคิดเห็นของผู้ที่ได้ชิมลงในสมุดบันทึก
-       สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับรสชาติ สูตร วิธีตำน้ำพริก
-       ปรับปรุงสูตรน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
-       นำเสนอชาร์ตความรู้สูตรน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู

-       ชิ้นงาน
-       น้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
-       ชาร์ตความรู้สูตรน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
-        Mind Mapping สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
- เข้าใจและสามารถพัฒนาสูตรน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู โดยใช้วัตถุดิบได้อย่างคุ้มค่าและถูกหลักโภชนาการ
- สามารถตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูเพื่อรับประทาน อีกทั้งยังสามารถประยุกต์รับประทานกับอาหารชนิดอื่นๆได้อย่างเหมาะสม

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในปรุงน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูให้อร่อยมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและมีการวางแผนในการปรุงน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู เครื่องเคียงและเครื่องแนม
- มีความยืดหยุ่นต่อการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู การปรุงรสน้ำพริกเพื่อให้ได้วิธีในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย เช่น ถ้าน้ำพริกเค็มหรือเผ็ด จะแก้ปัญหาอย่างไร
- นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ (เลือกตำน้ำพริกรับประทานเองได้)

ทักษะการสื่อสาร
- มีเป้าหมายในการนำเสนอน้ำพริกของตนเองรับฟังการนำเสนอน้ำพริกของกลุ่มอื่นที่แตกต่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความถูกต้องชัดเจนในการนำเสนอน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูทั้งการพูด การเขียน และการแสดงออก
- เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้จากการตำน้ำพริกปลาร้าบองและปลาทูให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านกิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูด้วยวิธีการที่หลากหลาย ( ถามผู้รู้ ค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต )
- จำแนกและจัดหมวดหมู่สาเหตุของปัญหาที่เกิดระหว่างตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูได้ถูกต้องเหมาะสม
- มีการจัดกลุ่มความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร   ที่ได้จากการสืบค้น จำแนกเป็นประเด็นความรู้เดิม กับประเด็นที่เป็นความรู้ใหม่ หรือนำเสนอประเด็นที่เป็นสาระสำคัญได้อย่างสอดคล้องน่าเชื่อถือ
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู แก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้

ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- ทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นขณะตำน้ำพริกและจัดเครื่องเคียง
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในการจัดเตรียมวัตถุดิบ อุปกรณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอื่นได้
- เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการตำน้ำพริก ปรุงรสร่วมกับผู้อื่น
ปรุงรสชาติของน้ำพริกและการจัดจานเครื่องเคียงให้สวยงามและมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม
- แก้ไขปัญหาระหว่างการตำน้ำพริกของตนเองได้ เช่น น้ำพริกเค็มหรือเผ็ด

ทักษะการคิดสร้างสรรค์
นำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูที่ได้ประยุกต์และนำไปทำเป็นอาหารจานใหม่ได้

ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์จากส่วนผสมต่างๆ ของน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูได้ ผ่านระบบ Internet โดยใช้ แท็บเล็ต

คุณลักษณะ
มีความพยายาม อดทนในการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูให้สำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็นขณะปรุงน้ำพริกและขณะพัฒนาสูตรน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
- เคารพ ยอมรับและรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- รับผิดชอบต่อตนเองในการเตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์ละสิ่งอื่นๆ
5
9-13
ก.พ.
58
โจทย์ :
- น้ำพริกกะปิ
- น้ำพริกลงเรือ

Key Questions :
-       นักเรียนจะตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือได้อย่างไร
-       น้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง

เครื่องมือคิด :
-   Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับวัตถุดิบ วิธีปรุงน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ รวมทั้งเครื่องเคียง เครื่องแนม
-   Round Robin 
-    แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการตำน้ำพริกกะปิหรือน้ำพริกลงเรือ
-      แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับเครื่องเคียง เครื่องแนมที่จะนำมารับประทานกับน้ำพริก
-          Show and Share
-     นำเสนอชาร์ตความรู้เกี่ยวกับตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ (วัตถุดิบ อุปกรณ์และวิธีการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ)
นำเสนอน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ
-          Wall Thinking
-     ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ (วัตถุดิบ อุปกรณ์และวิธีการตำ
-     ติดชิ้นงานสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์ (การ์ตูนช่องหรือ Mind Mapping)

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- คลิป กบนอกกะลา ตอน “กะปิเรื่องคุ้นเคยของเคยเคย”
- แท็บเล็ต
 - สื่อจริง วัตถุดิบของน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ เช่น กะปิ พริก ผัก ฯลฯ
- นักเรียนดูคลิป กบนอกกะลา ตอน “กะปิเรื่องคุ้นเคยของเคยเคย”
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นในคลิป กบนอกกะลา ตอน “กะปิเรื่องคุ้นเคยของเคยเคย” เช่น สิ่งที่ใช้ทำกะปิและวิธีการทำกะปิ
-        นักเรียนแต่ละกลุ่มค้นคว้าหาข้อมูลน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ พร้อมทำชาร์ตความรู้วัตถุดิบ วิธีการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ 
( อินเทอร์เน็ต ห้องสมุด หรือผู้รู้ )
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ ( Show  and Share ) ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ วิธีการตำพริกกะปิ น้ำพริกลงเรือ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนในการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ เช่น หน้าที่รับผิดชอบ/วัตถุดิบ/อุปกรณ์ ตลอดจนเครื่องเคียง เครื่องแนม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ เตรียมเครื่องเคียงหรือเครื่องแนม พร้อมทั้งจัดจานให้สวยงาม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ (Show  and Share) เกี่ยวกับปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ วิธีการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ ครูและเพื่อนๆ ร่วมอภิปรายเพิ่มเติม
-      นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผน แบ่งหน้าที่เตรียมวัตถุดิบมาพัฒนาสูตรน้ำพริกของตนเอง
- ครูและนักเรียนทบทวน เขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
(การบ้าน เตรียมวัตถุดิบมาพัฒนาสูตรน้ำพริกอีกครั้งในวันจันทร์หน้า)
ภาระงาน
-       สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับ  การทำกะปิ วัตถุดิบ วิธีตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ
-       วางแผนเตรียมวัตถุดิบ อุปกรณ์ในการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ
-       วางแผนพัฒนาสูตรตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ
-        
ชิ้นงาน
-       น้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ
-       ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ (วัตถุดิบ อุปกรณ์และวิธีการตำ
-       - สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ (การ์ตูนช่องหรือ Mind Mapping)
ความรู้
- เข้าใจที่มาของน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ สามารถนำวัตถุดิบ ตลอดจนหาเครื่องแนมของน้ำพริกแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสม และนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
- สามารถตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือเพื่อรับประทาน อีกทั้งยังสามารถเลือกเครื่องเคียง เครื่องแนมมารับประทานคู่กันได้อย่างเหมาะสม

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในปรุงน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือให้อร่อยคุ้มค่าและเหมาะสม
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและมีการวางแผนในการปรุงน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ เครื่องเคียง เครื่องแนม (เช่น ชะอมไข่ ผักสด/ลวก)
- นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ (เลือกตำน้ำพริกรับประทานเองได้)

ทักษะการสื่อสาร
- มีเป้าหมายในการนำเสนอน้ำพริกของตนเอง รับฟังการนำเสนอน้ำพริกของกลุ่มอื่นที่แตกต่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความถูกต้องชัดเจนในการนำเสนอน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือทั้งการพูด การเขียน และการแสดงออก
- เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้จากการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านกิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะการจัดการข้อมูล
-      มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือด้วยวิธีการที่หลากหลาย ( ถามผู้รู้ ค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต )
จำแนกและจัดหมวดหมู่สาเหตุของปัญหาที่เกิดระหว่างตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือได้ถูกต้องเหมาะสม
- มีการจัดกลุ่มความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร   ที่ได้จากการสืบค้น จำแนกเป็นประเด็นความรู้เดิม กับประเด็นที่เป็นความรู้ใหม่ หรือนำเสนอประเด็นที่เป็นสาระสำคัญได้อย่างสอดคล้องน่าเชื่อถือ
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ แก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้

ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- ทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นขณะตำน้ำพริกและจัดเครื่องเคียงและเครื่องแนม
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในการจัดเตรียมวัตถุดิบ อุปกรณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอื่นได้
- เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการตำน้ำพริก ปรุงรสร่วมกับผู้อื่น

ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ปรุงรสชาติของน้ำพริกและการจัดจานเครื่องเคียงให้สวยงามและมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม
- แก้ไขปัญหาระหว่างการตำน้ำพริกของตนเองได้ เช่น น้ำพริกเค็มหรือเผ็ด
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสมต่างๆ ของน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยใช้ แท็บเล็ต

คุณลักษณะ
มีความพยายาม อดทนในการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือให้สำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็นขณะปรุงน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ
- เคารพ ยอมรับและรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- รับผิดชอบต่อตนเองในการเตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์ละสิ่งอื่นๆ
- อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
6
16-20
ก.พ.
58

โจทย์ :
-   พัฒนาสูตรน้ำพริกกะปิ
-   พัฒนาสูตรน้ำพริกลงเรือ

Key Question :
-   นักเรียนพัฒนาสูตรน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรืออย่างไร
-   นักเรียนสามารถนำน้ำพริกไปประยุกต์เป็นอาหารจานใหม่ที่อร่อยและมีคุณค่าอย่างไรบ้าง?

เครื่องมือคิด :
-    Brainstorms ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการพัฒนาสูตรน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ
-    Round Robin 
-   แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำน้ำพริกมาประยุกต์เป็นอาหารจานใหม่
-    แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการ
-    Show and Share 
-      นำเสนออาหารจานใหม่จากน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือโดยนำไปให้คุณครู พี่ๆและน้องชั้นอื่นๆ ได้ชิม
-     นำเสนอชาร์ตความรู้สูตรน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ อาหารจานใหม่จากน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ รวมทั้งประโยชน์จากส่วนผสมต่างๆ
-        Wall Thinking 
-     ติดชิ้นงานชาร์ตสูตรน้ำพริกกะปิน้ำพริกลงเรือ และอาหารประยุกต์จากน้ำพริกของแต่ละกลุ่ม
-     ติดชิ้นงานสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
 - ครู
 - นักเรียน
- ผู้ปกครอง

บรรยากาศ/สื่อ :
-     บรรยากาศในชั้นเรียน
-     บริเวณโรงเรียน
-     แท็บเล็ต
-     สื่อจริงส่วนผสมของน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือเช่น พริก กระเทียม หอม มะอึก ข้าวสาร
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับอาหารจานใหม่จากข้าวสวยและน้ำพริก
- นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ เพื่อค้นหาสูตรที่คิดว่าอร่อยที่สุด และนำน้ำพริกมาประยุกต์เป็นอาหารจานใหม่ จัดเครื่องเคียงหรือเครื่องแนม พร้อมทั้งจัดจานให้สวยงาม
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรสชาติ และวิธีการประยุกต์น้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ เป็นอาหารจานใหม่
-      นักเรียนนำเสนอน้ำพริกและอาหารประยุกต์จากน้ำพริก โดยการนำไปให้คุณครู พี่ๆและน้องชั้นอื่นๆ ได้ชิมพร้อมรับข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-      ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในวันจันทร์ที่ผ่านมา นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนชาร์ตความรู้สูตรน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ อาหารจานใหม่ประโยชน์ของส่วนผสมแต่ละชนิด
-      นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ (Show  and Share) ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับสูตรน้ำพริกกะปิ น้ำพริกลงเรือ และประโยชน์ของส่วนผสมต่างๆ
-      ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาในชาร์ตความรู้ของแต่ละกลุ่ม และอภิปรายร่วมกัน
-        ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
- นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการตำน้ำพริกตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
(การบ้าน นักเรียนสอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับการตำน้ำพริกหนุ่มและน้ำพริกอ่อง)

ภาระงาน
-       ปรับปรุงสูตรน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ
-       สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับรสชาติ สูตร วิธีตำน้ำพริก การนำน้ำพริกมาประยุกต์เป็นอาหารจานใหม่ ความคิดเห็นของผู้ที่ได้ชิม
-       นำเสนอชาร์ตความรู้สูตรน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ อาหารจานใหม่จากการนำน้ำพริกมาประยุกต์

ชิ้นงาน
-       น้ำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ
-       ชาร์ตความรู้สูตรน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ
-       สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
- เข้าใจและสามารถพัฒนาสูตรน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือโดยใช้ส่วนผสมได้อย่างเหมาะสมและถูกหลักโภชนาการ
- สามารถตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือเพื่อรับประทานเองได้ อีกทั้งยังสามารถนำน้ำพริกไปประยุกต์เป็นอาหารจานใหม่ได้อย่างเหมาะสมและมีคุณค่าทางโภชนาการ
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้ส่วนผสมที่มีอยู่ปรุงรสชาติน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือให้อร่อยมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและมีการวางแผนในการปรุงน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือจัดเตรียมเครื่องเคียงและเครื่องแนม
- มีความยืดหยุ่นต่อการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ การปรุงรสน้ำพริกเพื่อให้ได้วิธีในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย เช่น ถ้าน้ำพริกเค็มหรือเผ็ด จะแก้ปัญหาอย่างไร
- นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ (เลือกตำน้ำพริกรับประทานเองได้)

ทักษะการสื่อสาร
- มีเป้าหมายในการนำเสนอน้ำพริกของตนเอง รับฟังการนำเสนอน้ำพริกของกลุ่มอื่นที่แตกต่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความถูกต้องชัดเจนในการนำเสนอน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ ทั้งการพูด การเขียน และการแสดงออก
- เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
-        สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้จากการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านกิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ( ถามผู้รู้ ค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต )
- จำแนกและจัดหมวดหมู่สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ ได้ถูกต้องเหมาะสม
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้

ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- ทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นขณะตำน้ำพริกและจัดเครื่องเคียง
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในการจัดเตรียมส่วนผสม อุปกรณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
- เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการตำน้ำพริก ปรุงรสร่วมกับผู้อื่น
- มีจิตอาสาช่วยเหลือเพื่อน ๆ คุณครูในขณะทำงานหรือเมื่อมีโอกาส

ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ปรุงรสชาติของน้ำพริกและการจัดจานเครื่องเคียงให้สวยงามและมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม
- นำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือที่ได้พัฒนาสูตรและนำไปประยุกต์เป็นอาหารจานใหม่ได้

ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์จากส่วนผสมต่างๆ ของน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ รวมทั้งอาหารประยุกต์จากน้ำพริกผ่านระบบ Internet โดยใช้แท็บเล็ต

คุณลักษณะ
มีความพยายาม อดทนในการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือให้สำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็นขณะปรุงน้ำพริกและขณะพัฒนาสูตรน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ
- เคารพ ยอมรับและรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- รับผิดชอบต่อตนเองในการเตรียมส่วนผสมและอุปกรณ์ละสิ่งอื่นๆ
7
23 - 27
ก.พ.
58

โจทย์ :
- น้ำพริกอ่อง
- น้ำพริกหนุ่ม

Key Questions :
-       นักเรียนจะตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มได้อย่างไร
-       น้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง

เครื่องมือคิด :
-   Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับส่วนผสม วิธีปรุงน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม รวมทั้งเครื่องเคียง เครื่องแนม
-   Round Robin 
-      แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม
-      แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับเครื่องเคียงและเครื่องแนมที่จะนำมารับประทานกับน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม
-          Round Table จัดประเภทของผักตามการรับประทาน (หัว, ใบ-ดอก, ผล)
-          Show and Share
-     นำเสนอชาร์ตความรู้ (Web) เกี่ยวกับวิธีตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม (ส่วนผสม อุปกรณ์และวิธีการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม)
-     นำเสนอน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม
-          Wall Thinking
-     Web ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม (ส่วนผสม อุปกรณ์และวิธีการตำ
-      ติดชิ้นงานสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
 - ครู
 - นักเรียน
- ผู้ปกครอง

บรรยากาศ/สื่อ :
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- คลิป “การตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม”
- แท็บเล็ต
-      - สื่อจริง ส่วนผสมของน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม เช่น กะปิ พริก ผัก ฯลฯ
-      นักเรียนดูคลิป “ผักพื้นบ้าน”
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับผักพื้นที่ตนเองรู้จัก และรสชาติของผักนั้นๆ
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะแยกประเภทผักจากการรับประทานได้อย่างไรบ้าง?”
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้จักน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มหรือไม่?”
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่า น้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มมีส่วนผสมและวิธีการตำอย่างไรบ้าง?”
- ครูและนักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนผสมและวิธีการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม
-        นักเรียนแต่ละกลุ่มหาข้อมูลน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มพร้อมทำชาร์ตความรู้ (Web) ส่วนผสม วิธีการตำน้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม และผักพื้นบ้านรับประทานกับน้ำพริก (อินเทอร์เน็ต ห้องสมุด หรือผู้รู้ )
-      นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ ( Show  and Share ) ชาร์ตความรู้ (Web) เกี่ยวกับส่วนผสม วิธีการตำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม
-      ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนผสม วิธีการตำน้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม และเสนอแนะเพิ่มเติม
-      นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ (เช่น เตรียมส่วนผสมต่างๆ)/ส่วนผสม/อุปกรณ์ ตลอดจนเครื่องเคียงและเครื่องแนมเพื่อใช้ในการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม
-      นักเรียนดูคลิปเกี่ยวกับ “การตำน้ำพริกอ่องและนำพริกหนุ่ม” ครูและนักเรียนร่วมสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูในคลิป
-      นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม เตรียมเครื่องเคียงหรือเครื่องแนม พร้อมทั้งจัดจานให้สวยงาม
-      นักเรียนสังเกตรูปแบบของน้ำพริกและการจัดจานแต่ละกลุ่ม ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่ารูปแบบการจัดจานน้ำพริกของแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไรบ้าง?”
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรสชาติของน้ำพริกและเสนอแนะเพิ่มเติม
-      นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผน แบ่งหน้าที่เตรียมส่วนผสมเพื่อพัฒนาสูตรน้ำพริกของตนเองในวันจันทร์
-      - ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
- นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
-      (การบ้าน เตรียมส่วนผสมเพื่อพัฒนาสูตรตำน้ำพริกอีกครั้งในวันจันทร์หน้า)
ภาระงาน
-       สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับ พริกที่ใช้ ส่วนผสม วิธีตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม
-       วางแผนเตรียมส่วนผสม อุปกรณ์ในการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม
-       วางแผนพัฒนาสูตรการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม

ชิ้นงาน
-       น้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม
-       ชาร์ตความรู้ (Web) เกี่ยวกับการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม (ส่วนผสม อุปกรณ์และวิธีการตำ
-       สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถนำส่วนผสมต่างๆ มาตำเป็นน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม ตลอดจนเลือกเครื่องเคียงของน้ำพริกแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสม และนำ    ความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ใช้ชีวิตประจำวันได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้ส่วนผสมที่มีอยู่ในปรุงน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มให้อร่อยคุ้มค่าและเหมาะสม
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและมีการวางแผนในการปรุงน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม เครื่องเคียง เครื่องแนม (เช่นแคบหมู ผักสด/ลวก)
 - นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ (เลือกตำน้ำพริกรับประทานเองได้)

ทักษะการสื่อสาร
- มีเป้าหมายในการนำเสนอน้ำพริกของตนเอง รับฟังการนำเสนอน้ำพริกของกลุ่มอื่นที่แตกต่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความถูกต้องชัดเจนในการนำเสนอน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มทั้งการพูด การเขียน และการแสดงออก
- เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้จากการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านกิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะการจัดการข้อมูล
มีการเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มด้วยวิธีการที่หลากหลาย ( ถามผู้รู้ ค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต )

ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในการจัดเตรียมส่วนผสม อุปกรณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอื่นได้
เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการตำน้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม ปรุงรสร่วมกับผู้อื่น

ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ปรุงรสชาติของน้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่องและการจัดจานเครื่องเคียงและเครื่องแนมให้สวยงามและมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม
- แก้ไขปัญหาระหว่างการตำน้ำพริกน้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่มของตนเองได้ เช่น น้ำพริกเปรี้ยวจากมะเขือเทศ หรือเผ็ดมากเกินไป

ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มได้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต

คุณลักษณะ
มีความพยายาม อดทนในการตำน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่มให้สำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็นขณะปรุงน้ำพริกและขณะพัฒนาสูตรน้ำพริกอ่องและน้ำพริกหนุ่ม
- เคารพ ยอมรับและรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- รับผิดชอบต่อตนเองในการเตรียมส่วนผสมและอุปกรณ์ละสิ่งอื่นๆ
- อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
8
3 - 7
มี.ค.
58
โจทย์ : นิทรรศการน้ำพริก

Key Question :
นักเรียนจะสร้างแรงบันดาลใจ
ให้ผู้อื่นอยากรับประทานน้ำพริกและสามารถตำน้ำพริกแต่ละชนิดเพื่อรับประทานเองได้อย่างไร

เครื่องมือคิด :
- Brainstorms 
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการตำน้ำพริกเผา
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการออกแบบนิทรรศการน้ำพริกให้น่าสนใจ
- Round Robin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับน้ำพริก รวมทั้งเครื่องเคียงและเครื่องแนมที่ใช้จัดนิทรรศการ
- Show and Share 
- นำเสนอน้ำพริกแต่ละชนิด
- นำเสนอชาร์ตความรู้ที่ใช้แสดงนิทรรศการน้ำพริก
- Wall Thinking
-     ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับน้ำพริก (ส่วนผสม วิธีการตำ และประโยชน์จากการรับประทานน้ำพริก)
-     ติดชิ้นงานสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
- นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- บรรยากาศในโรงเรียน
- คลิป “น้ำพริกเผา” 
- สื่อจริง ส่วนผสมของน้ำพริกต่างๆ เช่น พริก กะปิ เนื้อสัตว์ (ปลาทู หมู ) ผักต่างๆ ฯลฯ
- ครูให้นักเรียนดูคลิป “น้ำพริกเผา” ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?” “น้ำพริกเผามีส่วนผสมอะไรบ้าง?”
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูจากคลิป และส่วนผสมของน้ำพริกเผา
-    นักเรียนลงมือตำน้ำพริกเผา และประยุกต์เป็นเมนูใหม่ “ขนมปังปิ้งน้ำพริกเผาหมูยอง และไข่พระอาทิตย์รสพริกเผา
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาทบทวนเกี่ยวกับน้ำพริกแต่ละชนิดที่ได้ตำมาทั้งหมด (เพื่อเชื่อมโยงสู่การจัดนิทรรศการน้ำพริกในวันพฤหัสบดี
-      นักเรียนแบ่งกลุ่มนักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน จับฉลากเลือกน้ำพริกและวางแผนนำเสนอน้ำพริกต่างๆ ที่ได้เรียนรู้ ใน Quarter นี้
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอน้ำพริกให้ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำชาร์ตความรู้เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับน้ำพริกแต่ละชนิดใน “นิทรรศการน้ำพริก”
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะบอกให้คนอื่นรู้ได้อย่างไรว่าจะมีนิทรรศการน้ำพริกของชั้น ป.2?”
- นักเรียนไปประชาสัมพันธ์นิทรรศการน้ำพริกที่ชั้นเรียนต่างๆ
-        นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมและแต่ละกลุ่มลงมือตำน้ำพริกและจัดเตรียมของที่จะใช้นำเสนอนิทรรศการน้ำพริก
-        นักเรียนนำเสนอนิทรรศการน้ำพริกให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะต่างๆ
- ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์
- นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ภาระงาน
-        สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการตำน้ำพริกเผา
-        วิเคราะห์ สังเคราะห์ส่วนผสมต่างๆ ที่ใช้ในการตำน้ำพริกเผา
-        สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการออกแบบนิทรรศการน้ำพริกให้น่าสนใจ
-        นำเสนอน้ำพริกต่างๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจและเกิดแรงบันดาลใจที่อยากรับประทานและสามารถตำรับประทานเองได้
-        วางแผนเตรียมชาร์ตความรู้ ส่วนผสม อุปกรณ์ในการตำน้ำพริกในการจัดนิทรรศการน้ำพริก

ชิ้นงาน
-       น้ำพริกต่างๆ เครื่องเคียงและเครื่องแนม
-       ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับน้ำพริกเผา
-       ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับน้ำพริกและเมนูอาหารที่ใช้ในการจัดนิทรรศการน้ำพริก
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
- เข้าใจและสามารถเผยแพร่ความรู้จากการตำน้ำพริก เลือกรับประทาน ตลอดจนเลือกเครื่องเคียงของน้ำพริกแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นอยากรับประทานอีกด้วย
- สามารถตำน้ำพริกต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว นำเสนอให้ผู้อื่นได้เข้าใจ อีกทั้งสามารถนำกลับไปตำรับประทานเองได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้ส่วนผสมที่มีอยู่ในปรุงน้ำพริกแต่ละชนิดให้อร่อยและเหมาะสม
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและมีการวางแผนในการปรุงน้ำพริกและเลือกเครื่องเคียง เครื่องแนม
- นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ (เลือกตำน้ำพริกรับประทานเองได้)
- นำเสนอความรู้จากการตำน้ำพริกให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ร่วมกันได้

ทักษะการสื่อสาร
- มีความถูกต้องชัดเจนในการนำเสนอน้ำพริกทั้งการพูด การเขียน และการแสดงออก
- เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้จากการตำน้ำพริกให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านกิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม

ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการตำน้ำพริกด้วยวิธีการที่หลากหลาย ( ถามผู้รู้ สืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต )
- บอกสาเหตุของปัญหาที่เกิดระหว่างตำน้ำพริก การนำเสนอน้ำพริกได้
- มีการจัดกลุ่มความรู้ ข้อมูล ที่ได้จากการสืบค้น จำแนกเป็นประเด็นความรู้เดิม กับประเด็นที่เป็นความรู้ใหม่ได้

ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- ทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นขณะตำน้ำพริกและนำเสนอนิทรรศการ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในการจัดเตรียมส่วนผสม อุปกรณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอื่นได้
- เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการตำน้ำพริก ปรุงรสร่วมกับผู้อื่น

ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ปรุงรสชาติของน้ำพริกและการจัดจานเครื่องเคียงให้สวยงามและมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม
- แก้ไขปัญหาระหว่างการตำน้ำพริก การนำเสนอน้ำพริกของตนเองได้ เช่น การตอบคำถามจากผู้ชมและชิม

คุณลักษณะ
มีความพยายาม อดทนในการหาข้อมูล การตำน้ำพริกให้สำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็นขณะปรุงน้ำพริกและขณะนำเสนอนิทรรศการน้ำพริก
- เคารพ ยอมรับและรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- รับผิดชอบต่อตนเองในการเตรียมส่วนผสมและอุปกรณ์ละสิ่งอื่นๆ
- อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
9
    9 - 13
มี.ค.
58

โจทย์ : น้ำพริกประยุกต์

Key Question :
นักเรียนจะนำความรู้จากการตำน้ำพริกที่ผ่านมาเพื่อประยุกต์เป็นน้ำพริกของตนเองได้อย่างไรบ้าง

เครื่องมือคิด :
-    Brainstorms
-   ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับน้ำพริกที่ได้ตำใน Quarter นี้
-   ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับประโยชน์จากน้ำพริกประยุกต์                   
-    Round Robin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับน้ำพริกประยุกต์ส่วนผสม วิธีการตำน้ำพริก ประยุกต์
-    Show and Share 
-     นำเสนอสูตรน้ำพริกประยุกต์
-     นำเสนอเกี่ยวกับน้ำพริกในแต่ละภาคของไทย และน้ำพริกประยุกต์
-        Wall Thinking 
-     ติดชิ้นงานสูตรน้ำพริกประยุกต์ของแต่ละกลุ่ม
-     ติดชิ้นงานน้ำพริกในแต่ละภาคของไทย และน้ำพริกประยุกต์
-     ติดชิ้นงานสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
-     บรรยากาศในชั้นเรียน
-     คลิปน้ำพริก “น้ำพริกเห็ดรวม”
-     แท็บเล็ต
- ครูให้นักเรียนดูคลิป “น้ำพริกเห็ดรวม”
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับน้ำพริกเห็ดรวม ส่วนผสมวิธีการตำ
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับน้ำพริกประยุกต์ต่างๆ ที่รู้จัก
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะตำน้ำพริกประยุกต์ของตนเองได้อย่างไร ใช้ส่วนผสมใดบ้าง และมีวิธีการตำอย่างไร?”
-      นักเรียนเขียน ส่วนผสม วิธีการตำน้ำพริกประยุกต์ของตนเอง
-      นักเรียนนำเสนอน้ำพริกประยุกต์ของตนเอง
(การบ้าน นักเรียนนำสูตรน้ำพริกของตนเองทำให้ผู้ปกครองรับประทานพร้อมข้อเสนอแนะจากผู้ปกครอง)
- นักเรียนเขียนน้ำพริกประจำแต่ละภาคของไทย และน้ำพริกประยุกต์ พร้อมนำเสนอนำพริกประยุกต์ของตนเอง
- ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์
- นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้

ภาระงาน
-           สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับน้ำพริกประยุกต์ของแต่ละคน
-           นำเสนอสูตรน้ำพริกประยุกต์
-           นำเสนอชาร์ตความรู้ประโยชน์จากน้ำพริกประยุกต์                   

ชิ้นงาน
-        สูตรน้ำพริกประยุกต์ของตนเอง
-        น้ำพริกในแต่ละภาคของไทย และน้ำพริกประยุกต์
-        สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
-      เข้าใจที่มาของน้ำพริกแต่ละชนิดและสามารถประยุกต์น้ำพริกต่างๆ ให้เป็นน้ำพริกชนิดใหม่ได้ โดยใช้ส่วนผสมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ได้คุณค่าทางโภชนาการ และสามารถนำมาประยุกต์รับประทานร่วมกับอาหารชนิดอื่นได้
-      สามารถนำส่วนผสมต่าง ๆ มาประยุกต์เป็นน้ำพริกที่แปลกใหม่ และมีคุณค่าทางอาหาร อีกทั้งสามารถตำน้ำพริกรับประทานในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกส่วนผสมต่างๆ ในการประยุกต์น้ำพริกได้อย่างเหมาะสม
- นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ (เลือกตำน้ำพริกรับประทานเองได้)
ทักษะการสื่อสาร
- มีเป้าหมายในการนำเสนอน้ำพริกของตนเองรับฟังน้ำพริกของกลุ่มอื่นที่แตกต่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
- เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้

- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้จากการตำน้ำพริกประยุกต์ ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านกิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการเก็บรวบรวมข้อมูลน้ำพริกในแต่ละภาค และน้ำพริกประยุกต์ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ( ถามผู้รู้ ค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต )
- มีการจัดกลุ่มความรู้ ข้อมูล   ที่ได้จากการสืบค้น จำแนกเป็นประเด็นความรู้เดิม กับประเด็นที่เป็นความรู้ใหม่ หรือนำเสนอประเด็นที่เป็นสาระสำคัญได้อย่างสอดคล้องน่าเชื่อถือ
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการตำน้ำพริกแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น

ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ออกแบบสูตรน้ำพริกของตนเองได้อย่างสร้างสรรค์และมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม

คุณลักษณะ
มีความพยายาม อดทนในการตำน้ำพริกให้สำเร็จและอร่อย
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็นขณะปรุงน้ำพริก
- รับผิดชอบต่อตนเองในการเตรียมส่วนผสมและอุปกรณ์ละสิ่งอื่นๆ
10
16-18
มีนาคม
58
โจทย์ : สรุปองค์ความรู้ สวยน้ำพริกแสนอร่อย”

Key Questions :
- นักเรียนจะเผยแพร่องค์ความรู้ คุณค่าของน้ำพริก” ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
- สิ่งที่ทำดีแล้ว และสิ่งที่ควรปรับปรุงมีอะไรบ้าง
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarter นี้

เครื่องมือคิด :
 - Round robin สนทนา ถามตอบทบทวนกิจกรรมที่เกิดขึ้นใน Quarter นี้
- Blackboard Share สนทนา ถามตอบทบทวนกิจกรรมที่เกิดขึ้นใน Quarter นี้
- Round robin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับจะเผยแพร่องค์ความรู้อย่างไร
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
- Card and Chart  สิ่งที่ดีแล้ว-สิ่งที่ควรพัฒนา

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
บรรยากาศในชั้นเรียน
- นักเรียนทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarter นี้
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนทบทวนกิจกรรมที่ได้ทำใน Quarter นี้และความรู้ที่ได้เรียนรู้ตลอด Quarter ที่ผ่านมา
- นักเรียนสรุปองความรู้หลังเรียนตามความสนใจ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับหน่วย คุณค่าของน้ำพริก” ให้ผู้อื่นรับทราบได้อย่างไร? ”
-     ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงการคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ใน Quarter นี้
-    นักเรียนร่วมกันจัดนิทรรศการแสดงผลงานและละครเผยแพร่องค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจ
-    เขียนตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
-   นักเรียนแสดงละครเผยแพร่ความรู้หน่วยการเรียนรู้ “น้ำพริก”                         
-   นักเรียนร่วมแสดงการคิดเห็นและเขียนประเมินตนเองร่วมกันประเมินเพื่อสะท้อนผลงาน
-   นักเรียนเขียนประเมินตนเองสิ่งที่ดีแล้ว-สิ่งที่ควรพัฒนา
-        ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์
นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ภาระงาน
เขียนสิ่งที่ดีแล้วสิ่งที่ควรปรับปรุง
นำเสนอความเข้าใจหลังเรียน
เขียนตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียน

ชิ้นงาน
- Mind Mappingหรือ การ์ตูนช่องสรุปองค์ความรู้หลังเรียน
- สรุปสิ่งที่ทำดีแล้ว และสิ่งที่ควรปรับปรุง
- นิทรรศการเผยแพร่สรุปองค์ความรู้
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
- สามารถออกแบบวางแผนการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับบูรณาการหน่วย “น้ำพริก” ให้ผู้อื่นเข้าใจ ชี้ให้เห็นคุณค่า สามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
- สามารถการวางแผนการนำเสนอการเรียนรู้ที่ผ่านมาให้แก่ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้ได้ในรูปแบบที่น่าสนใจ

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
จัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้และสามารถอธิบายวิธีการเลือกรับประทานและตำน้ำพริก รวมทั้งประโยชน์และโทษที่เกิดจากของเล่นให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- มีการวางแผนการนำเสนองานอย่างเหมาะสม

ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมาได้

ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบกิจกรรมในการนำเสนอผลงานได้อย่างสร้างสรรค์

ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ ละคร สรุปองค์ความรู้ให้ครูและคนอื่นๆฟังได้

ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ ละคร สรุปองค์ความรู้ให้ครูและคนอื่นๆฟังได้

ทักษะการจัดการข้อมูล
- จัดลำดับข้อมูลเกี่ยวกับการวางแผนการนำเสนอกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ทั้ง Quarter อย่างเป็นระบบและเหมาะสม
- คิดวิเคราะห์เรียนรู้ โดยมีความสนใจในกิจกรรมและสามารถวางแผนการนำเสนอความรู้ได้อย่างเหมาะสม

ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้

ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ออกแบบกิจกรรมสรุปความรู้และวางแผนการทำงานอย่างเหมาะสม

คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น

ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้กับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระ
หน่วย : “สวนน้ำพริกแสนอร่อย”
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 Quarter 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557

สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
หน้าที่พลเมือง
ประวัติศาสตร์
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปศึกษา
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สร้างฉันทะ/สร้างแรงบันดาลใจ
- เรื่องที่อยากเรียนรู้
- เลือกหัวข้อหน่วยการเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้ว  
สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping
ก่อนเรียน

มาตรฐาน ว 8.1
-   ใช้กระบวนการการทางวิทยาศาสตร์ ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา ตามความสนใจ
 (ว 8.1 ป.2/1)
- วางแผนการศึกษาค้นคว้า สำรวจ ตรวจสอบ โดยใช้ความคิดของตนเอง ของกลุ่ม และผู้รู้ (ว 8.1ป.2/2)
- ใช้เครื่องมือ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ในการศึกษาค้นคว้า ตรวจสอบ รวบรวมข้อมูล บันทึก หรือสรุปผลการเรียนรู้อย่างเหมาะสม
(ว 8.1 ป.2/3)
- จัดกลุ่มข้อมูลเปรียบเทียบและนำเสนอผลการตรวจสอบ
 แสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มรวบรวม และสรุปความรู้ได้ (ว 8.1 ป.2/4-6)
มาตรฐาน ส 1.1
ชื่นชมเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่นระหว่างการทำงานร่วมกัน
 (ส 1.1 . 2/5)
มาตรฐาน ส 1.2
ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง
 (ส 1.2 . 2/1)
มาตรฐาน ส 2.1
- ยอมรับในความคิด และความเชื่อของของผู้อื่นที่มีความแตกต่างจากตนเองในการเลือกและกำหนดสิ่งที่อยากเรียนรู้ (ส 2.1 . 2/3)
- เคารพและให้เกียรติในสิทธิและเสรีภาพของตนเองและผู้อื่นในการเลือกและตัดสินใจ
(ส 2.1 . 2/4)
จุดเน้นที่1
-   มารยาทไทยพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ มีกริยาสุภาพอ่อนหวาน
(จุดเน้นที่1 1.1 ป.2/1)
-   แสดงออกถึงความเคารพ ช่วยเหลือเพื่อน คุณครู หรือบุคคลอื่นๆ ในโรงเรียน
(จุดเน้นที่1 1.1 ป.2/2)
มาตรฐาน ส 4.1
- สามารถศึกษาค้นคว้าสืบค้นชนิดน้ำพริกได้หลากหลายโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย (ส 4.1ป.5/1)
- เข้าใจและสามารถระบุเวลา เหตุการณ์ เห็นความสัมพันธ์ของเวลา  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลง
(ส 4.1ป.2/1)
- เข้าใจและสามารถลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่หลากหลาย และสามารถวิเคราะห์แยกแยะข้อมูลได้
(ส 4.1ป.2/2)
มาตรฐาน พ  2.1
- ระบุบทบาทหน้าที่ของตนเองต่อสมาชิกในกลุ่มและเพื่อนร่วมชั้นในการเลือกหัวข้อและวางแผนการเรียนรู้ได้
 (พ 2.1 . 2/1)
- ให้เกียรติและบอกความสำคัญของเพื่อนต่อกระบวนการเลือก การวางแผน รวมทั้งการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันได้
(พ 2.1 . 2/2)
มาตรฐาน ศ 1.1
นำสิ่งที่ได้ดู ได้ฟัง    ได้เห็นสร้างงานศิลปะโดยการวาดภาพและบรรยายถึงสิ่งที่มองเห็นและเรื่องราวเนื้อหาของภาพได้
(ศ 1.1 . 2/7)




มาตรฐาน ง 1.1
ทำงานได้ด้วยตนเอง แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและมีความระมัดระวังรอบคอบในการทำงาน
(ง 1.1 . 2/3)
มาตรฐาน ง 2.1
มีความคิดสร้างสรรค์สามารถนำสิ่งที่ได้ดูได้ฟัง และได้เห็นไปถ่ายทอดเป็นชิ้นงานภาพวาด รวมทั้งวางแผนล่วงหน้าในการเรียนได้
(ง 2.1 ป.2/4)


สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
หน้าที่พลเมือง
ประวัติศาสตร์
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปศึกษา
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ประวัติความเป็นมา
ความหมาย
ความสำคัญ

มาตรฐาน ว 8.1
- เข้าใจและสามารถตั้งคำถามสิ่งที่ต้องการศึกษาเรียนรู้ได้
 (ว 8.1 .2/1)
- เข้าใจและสามารถจัดกลุ่มข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างน้ำพริกในอดีตและปัจจุบันยุคใดที่มีความพอเพียงและใช้วัตถุดิบพื้นถิ่นได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด (ว 8.1 .2/4)
- เข้าใจและสามารถแสดงความคิดเห็น รวบรวมความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของน้ำพริกเป็นกลุ่มได้
(ว 8.1 .2/6)
- เข้าใจและสามารถนำเสนอกระบวนการและอธิบายผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านชิ้นงานได้ (ว 8.1 .2/8)
มาตรฐาน ส 1.1
- ชื่นชม เห็นคุณค่าของสรรพสิ่งและบอกคุณค่าทางโภชนาการของน้ำพริกได้เหมาะสม
(ส 1.1 .2/5)

มาตรฐาน ส 2.1
-   ยอมรับความคิด ความเชื่อ และการปฏิบัติของผู้อื่น รวมทั้งมีความอดทนอดทน มุ่งมั่นและมีความรับผิดชอบในการทำงาน การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้
(ส 2.1 ป.2/3)
- เคารพและสามารถแสดงออกในสิทธิและเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น (ส 2.1 .2/4)
มาตรฐาน ส 4.1
- สามารถศึกษาค้นคว้าสืบค้นชนิดน้ำพริกหลากหลายโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย (ส 4.1ป.5/1)
- เข้าใจและสามารถระบุเวลา เหตุการณ์ เห็นความสัมพันธ์ของเวลา  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงของการตำน้ำพริกได้ (ส 4.1ป.2/1)
มาตรฐาน ส 4.2
เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของการตำน้ำพริกของคนไทยในอดีตและปัจจุบันได้
(ส 4.2 . 3/3)
มาตรฐาน พ 2.1
-เข้าใจ เห็นคุณค่าของตนเองและ
ผู้อื่น มีพฤติกรรมที่เหมาะสมตามวัย มีทักษะในการดำเนินชีวิต (พ 2.1 . 2/3)
มาตรฐาน พ 3.1
เข้าใจและสามารถใช้อุปกรณ์ และระมัดระวังการใช้งานอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่นระหว่างการทำกิจกรรม
(พ 3.1 ป.2/2)
มาตรฐาน พ 5.1
- สามารถปฏิบัติตนในการป้องกันและหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุระหว่างทำน้ำพริกและการทำกิจกรรมอื่นๆได้
(พ 5.1 ป. 2/1)

มาตรฐาน ศ1.1
-เข้าใจและสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะผ่านการวาดภาพตกแต่งผลงาน เขียนบรรยายและทำการ์ตูนช่อง
(ศ 1.1ป.2/3)
-มีทักษะขั้นพื้นฐานในการใช้และเลือกอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน 3 มิติ จากวัตถุดิบธรรมชาติ
(ศ 1.1ป.2/4)
มาตรฐาน ศ 3.2
- เข้าใจและสามารถระบุความหมาย ความสำคัญของน้ำพริกจากวัตถุดิบพื้นบ้านและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ (ศ3.2ป.2/1)
- เข้าใจและสามารถเชื่อมโยงการน้ำพริกพื้นบ้านกับสิ่งต่างๆรอบตัวที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวันแล้วสามารถนำมาประยุกต์เป็นน้ำพริกของตนเองได้อย่างสร้างสรรค์
(ศ 3.2 ป. 2/2)
-    เข้าใจและรู้คุณค่าที่แท้ของน้ำพริกพื้นบ้านรวมทั้งน้ำพริกอื่นๆจากวัตถุดิบในพื้นถิ่น
 (ศ 3.2ป.2/3)
มาตรฐาน ง 1.1
-สามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูลของประวัติความเป็นมา ความหมายและความสำคัญของน้ำพริกรวมทั้งวางแผนการทำงานได้ด้วยตนเอง (ง 1.1 .2/3)
-ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงาน ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานรวมทั้งสามารถใช้พลังงานและทรัพยากรในการสร้างสรรค์น้ำพริกได้อย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์สูงสุด
(ง 1.1ป.3/2-3)
มาตรฐาน ง.2.1
มีความคิดสร้างสรรค์และสามารถตำน้ำพริกอย่างสร้างสรรค์ผ่านการแก้ปัญหาและการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล (ง 2.1 ป. 2/4)

สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
หน้าที่พลเมือง
ประวัติศาสตร์
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปศึกษา
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
น้ำพริกกับวัฒนธรรม /
วิถีชีวิต
- น้ำพริกภาคกลาง
- น้ำพริกภาคอีสาน
- น้ำพริกภาคใต้
- น้ำพริกภาคเหนือ
น้ำพริกประยุกต์
การออกแบบและสร้างสรรค์น้ำพริก
น้ำพริกประยุกต์
- คุณค่าทางอาหาร
- พฤติกรรมการกิน/วิถีชีวิต
- ความต้องการน้ำพริกในอนาคต
มาตรฐาน ว 3.1
- สามารถระบุชนิดและเปรียบเทียบคุณค่าของวัตถุดิบที่นำมาทำน้ำพริกได้อย่างเหมาะ
สม คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
(ว 3.1 . 2/1)
- สามารถเลือกใช้วัตถุดิบพื้นถิ่นในการทำน้ำพริกพื้นบ้านและน้ำพริกประยุกต์ได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยทั้งต่อตนเองและผู้อื่น (ว 3.1 . 2/1)
มาตรฐาน ว 8.1
- เข้าใจและสามารถจัดกลุ่มข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างน้ำพริกพื้นบ้านและน้ำพริกประยุกต์ตามวิถีความพอเพียงและนำไปปรับใช้กับตนเองได้อย่างมีเหตุมีผล
(ว 8.1 .2/4)
- เข้าใจและสามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุมีผล รวบรวมความรู้เกี่ยวกับน้ำพริกพื้นบ้านและน้ำพริกประยุกต์ชนิดต่างๆได้ (ว 8.1 .2/6)
- เข้าใจและสามารถนำเสนอกระบวนการและอธิบายผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านชิ้นงานได้
(ว 8.1 .2/8)
มาตรฐาน ส 1.1
ชื่นชมเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่นระหว่างการทำงานร่วมกัน
 (ส 1.1 . 2/5)
มาตรฐาน ส 1.2
ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง
 (ส 1.2 . 2/1)
มาตรฐาน ส 2.1
-   เข้าใจและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นที่แตกต่างจากตนเองได้โดยไม่มีอคติ
(ส 2.1 ป. 2/3)
-   เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตแต่ละพื้นถิ่น รวมทั้งเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมและฐานทรัพยากรในแต่ละพื้นถิ่นที่ควรค่าต่อการดูแลให้อยู่ในภาวะที่สมดุลอย่างยั่งยืน
(ส 2.1 ป. 2/3)
จุดเน้นที่2
ปฏิบัติตามพระบรมราโชวาทหลักการทรงงาน และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความขยันอดทน รู้จักพึ่งพาตนเองในการทำน้ำพริก และมีความสามัคคีเมื่อทำงานกลุ่ม (จุดเน้นที่2 ป.2/5)
จุดเน้นที่3
-   ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบและหน้าที่ของตนเอง เช่น การแต่งกาย การเข้าแถว และการดูแลพื้นที่ของตนเองหลังจากทำงานเสร็จเรียบร้อย
(จุดเน้นที่3 3.1 ป.2/6)
รู้หน้าที่ของตนเอง เป็นผู้นำและสมาชิกที่ดี มีรับผิดชอบต่อการทำงาน (จุดเน้นที่3 3.2 ป.2/7)
มาตรฐาน ส 4.3
เข้าใจ เห็นคุณค่าและสามารถยกตัวอย่างและอธิบายภูมิปัญญาในการทำน้ำพริกที่ภาคภูมิใจและควรอนุรักษ์ไว้ (ส 4.3 . 2/2)
มาตรฐาน ส 5.2
แสดงออกถึงวิจารณญาณและภูมิคุ้มกันที่ดีต่อการทำและการเลือกรับประทานน้ำพริกในชีวิตประจำวันผ่านการเลือกวัตถุดิบ การออกแบบสร้างสรรค์น้ำพริกและวิถีปฏิบัติรวมทั้งอธิบายความแตกต่างของน้ำพริกในเมืองและน้ำพริกในชนบท ได้อย่างมีเหตุผล
(ส 5.2 . 3/4)
มาตรฐาน พ 2.1
เข้าใจและสามารถอธิบายพัฒนาการของร่างที่เหมาะสมกับเลือกรับประทานพริกแต่ละชนิด (พ2.1 ป.2/3)
มาตรฐาน พ 4.1
เข้าใจและสามารถระบุน้ำพริกพื้นบ้านและน้ำพริกประยุกต์รวมทั้งคุณค่าต่อสุขภาพได้
(พ 4.1 ป.2/3)
มาตรฐาน พ 5.1
สามารถปฏิบัติตนในการป้องกันและหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุระหว่างตำน้ำพริกและสร้างสรรค์น้ำพริกได้
(พ 5.1 ป. 2/1)
มาตรฐาน ศ1.1
มีทักษะขั้นพื้นฐานในการใช้เครื่องมือ และเลือกอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน 3 มิติ จากการวาดภาพประกอบ
(ศ 1.1ป.2/4)
มาตรฐาน ศ 3.2
-   เข้าใจและสามารถระบุความหมาย ความสำคัญของการทำและเลือกรับประทานน้ำพริกได้
(ศ 3.2ป.2/1)
-    เข้าใจและสามารถเชื่อมโยงน้ำพริกพื้นถิ่นกับวิถีชีวิต สิ่งต่างๆรอบตัวที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวันแล้วสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองได้อย่างสร้างสรรค์
(ศ 3.2 ป. 2/2)
-  เข้าใจและรู้คุณค่าที่แท้ของการเลือกและทำน้ำพริก(ศ 3.2ป.2/3)

มาตรฐาน ง 1.1
-   เข้าใจและสามารถออกแบบน้ำพริกชนิดต่างๆ แล้วนำไปสร้างเป็นน้ำพริกแบบใหม่ได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด
(ง 1.1. 2/2)
-   เข้าใจและสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมืออย่างถูกวิธีไปใช้ในการสร้างสรรค์น้ำพริกอย่างเหมาะสมและระมัดระวัง
(ง 1.1 . 2/3)
มาตรฐาน ง 2.1
มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถทำน้ำพริก พื้นบ้านและน้ำพริกประยุกต์โดยใช้วัตถุดิบพื้นถิ่นที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น (ง 2.1 ป. 3/2)


สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
หน้าที่พลเมือง
ประวัติศาสตร์
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปศึกษา
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
เครื่องเคียง เครื่องแนมที่นำมารับประทานกับน้ำพริก
-   ผักพื้นบ้าน
-   เนื้อสัตว์
-   ไข่
การจัดวางและการตกแต่ง
-   ความสะอาด
-   เป็นระเบียบ
-   หยิบรับประทานง่าย
มาตรฐาน ว 2.2
-สำรวจพืช ผัก ในชุมชน โรงเรียนระบุชื่อ ชนิด นั้นสามารถนำมาทำหรือสร้างสรรค์เป็นเครื่องเคียง เครื่องแนมน้ำพริกได้อย่างไรให้ประหยัดคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดควบคู่กับการดูแลรักษาพืช ผัก ในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
(ว 2.2 ป. 3/1-3)
มาตรฐาน ว 8.1
- เข้าใจและสามารถจัดกลุ่มข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างผักพื้นบ้านและผักอื่นที่นำมารับประทานกันน้ำพริก แล้วนำเสนอถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ (ว 8.1 .2/4)
- เข้าใจและสามารถแสดงความคิดเห็น รวบรวมความรู้เกี่ยวกับผักพื้นบ้านและผักอื่นๆได้
(ว 8.1 .2/6)
- เข้าใจสามารถนำเสนอและอธิบายผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างมีเหตุผลตรงตามวัตถุประสงค์และกระบวนการการสร้างสรรค์ผลงาน (ว 8.1 .2/8)
มาตรฐาน ส 1.1
ชื่นชมเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่นระหว่างการทำงานร่วมกัน
 (ส 1.1 . 2/5)
มาตรฐาน ส 1.2
ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง
 (ส 1.2 . 2/1)
มาตรฐาน ส 2.1
-    เข้าใจและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นที่แตกต่างจากตนเองได้โดยไม่มีอคติ
(ส 2.1 ป. 2/3)
-    เห็นคุณค่าของผักในพื้นถิ่นที่รับประทานกับน้ำพริกที่แตกต่างกันเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมและฐานทรัพยากรในแต่ละพื้นถิ่นที่ควรค่าต่อการดูแลให้อยู่ในภาวะที่สมดุลอย่างยั่งยืน (ส 2.1 ป. 2/3)
จุดเน้นที่1
มารยาทไทยพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ มีกริยาสุภาพอ่อนหวาน
(จุดเน้นที่1 1.1 ป.2/1)
มาตรฐาน ส 5.2
- เข้าใจและสามารถอธิบายพืชผัก เนื้อสัตว์ ไข่ เป็นแหล่งวัตถุดิบในการผลิตเครื่องเคียง เครื่องแนมน้ำพริก ที่นับวันจะมีอันตรายจากสารปนเปื้อนหาแนวทางป้องกันและมีส่วนในการอนุรักษ์พืชผักนั้น
(ส 5.2 .2/1)
- เข้าใจและสามารถอธิบายความสำคัญและคุณค่าของผักพื้นบ้านมีผลต่อการรับประทานน้ำพริกแต่ละชนิดที่สำคัญในการดำรงชีวิต การเลือกละทำน้ำพริกต่างๆ ได้
(ส 5.2 . 3/2)
มาตรฐาน พ 2.1
มีสัมพันธภาพที่ดีต่อเพื่อนในการทำงานร่วมกัน (พ 2.1 .3/2)
มาตรฐาน พ 5.1
- สามารถปฏิบัติตนในการป้องกันและหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุต่อตนเองและผู้อื่นระหว่างการตำน้ำพริกและการทำกิจกรรมอื่นๆ ได้
(พ 5.1 ป. 2/1)
-   อธิบายความสัมพันธ์ของฤดูกาลที่มีผลต่อพืชผัก เนื้อสัตว์ ไข่ในการนำมาเป็นเครื่องเคียง เครื่องแนมรับประทานกับน้ำพริกในแต่ละพื้นถิ่น (ส 5.2 ป.2/3)
-   เข้าใจและอธิบายรสชาติเมื่อนำพืชผัก สัตว์ ไข่มาทำเป็นเครื่องเคียง เครื่องแนมกับน้ำพริกพร้อมทั้งหาแนวการเลือก เพื่อป้องการสารปนเปื้อนต่างๆ ที่มากับสิ่งเหล่านี้
(ส 5.2 ป.2/4)
มาตรฐาน ศ1.1
-   มีทักษะขั้นพื้นฐานในการใช้เครื่องมือ และเลือกอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน 3 มิติ จากวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆ ได้
(ศ 1.1ป.2/4)
-   สามารถสร้างสรรค์ผลงานวาดภาพประกอบความรู้เกี่ยวกับการเลือกและทำจัดวางเครื่องเคียง เครื่องแนม น้ำพริกรวมทั้งสามารถบรรยายหรือถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพให้ผู้อื่นเข้าใจได้(ศ 1.1 ป. 2/7)
มาตรฐาน ศ 3.2
-เข้าใจและสามารถระบุแหล่งที่มาและ ความสำคัญเครื่องเคียงที่มีต่อการรับประทานน้ำพริกได้ (ศ 3.2ป.2/1)
-   เข้าใจและสามารถเชื่อมโยงเครื่องเคียง เครื่องแนมและน้ำพริกต่างๆ กับสิ่งต่างๆรอบตัวที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวันแล้วสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองได้อย่างสร้างสรรค์
(ศ 3.2 ป.2/2)
-   เข้าใจและรู้คุณค่าทางโภชนาการที่แท้ของการเลือกเครื่องเคียง เครื่องแนมกับน้ำพริกต่างๆ
(ศ 3.2 ป.2/3)
มาตรฐาน ง 2.1
-   เลือกเครื่องเคียง เครื่องแนมน้ำพริก และจัดวางหรือตกแต่งอย่างง่ายโดยการกำหนดเป้าหมายและการออกแบบโดยถ่ายทอดผ่านวัตถุดิบจากพื้นถิ่น โดยไม่เบียดบังต่อสิ่งอื่น รวมทั้งใช้ส่วนผสม เครื่องเคียงและเครื่องแนมที่นำมาให้เกิดการประโยชน์สูงสุด
(ง 2.1 .2/2)
-   เข้าใจและมีวิธีการจัดการกับวัตถุดิบหรืออุปกรณ์มีอยู่โดยการเลือกใช้หรือสร้างสรรค์เป็นสิ่งใหม่ที่มีคุณค่าและมีมูลค่าเพิ่ม
(ง 2.1 ป. 3/3)
- สามารถนำความรู้ในการใช้เครื่องมือต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์เครื่องเคียง เครื่องแนมที่รับประทานกับพริกได้อย่างมีคุณค่ารวมทั้งสามารถจัดเก็บและดูแลอุปกรณ์ที่ใช้ได้อย่างเหมาะสม
(ง 2.1 .2/3)

สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
หน้าที่พลเมือง
ประวัติศาสตร์
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปศึกษา
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ประโยชน์ของน้ำพริก
การเลือกซื้อและการเลือกบริโภคน้ำพริก
การดูแลร่างกาย
    - การออกกำลังกาย
    - การพักผ่อน
เศรษฐศาสตร์
- ทำกินในครอบครัว
- ทำเป็นอุตสาหกรรม

มาตรฐาน ว 3.1
เข้าใจและสามารถระบุชนิด เปรียบเทียบคุณค่าของวัตถุดิบที่นำมาทำน้ำพริกและสามารถเลือกใช้วัตถุดิบนั้นได้อย่างเหมาะสม คุ้มค่า ปลอดภัยและเกิดประโยชน์สูงสุด
(ว 3.1 ป. 2/1-2)
มาตรฐาน ว 8.1
-สามารถตั้งคำถามใหม่เกี่ยวกับน้ำพริกประยุกต์ได้ (ว 8.1 ป. 2/5)
- เข้าใจสามารถนำเสนอและอธิบายผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างมีเหตุผลตรงตามวัตถุประสงค์และกระบวนการการสร้างสรรค์ผลงาน
(ว 8.1 .2/8)
มาตรฐาน ส 1.1
ชื่นชม เห็นคุณค่าและบอกประโยชน์ที่ได้จากการรับประทานน้ำพริกและผักต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
(ส 1.1 .2/3)
มาตรฐาน ส 3.1
ระบุสินค้าที่เป็นน้ำพริก รวมทั้งวัตถุดิบที่นำมาทำน้ำพริกในชุมชนของตนเองได้ และนำมาใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด (ส 3.1 . 2/1)
-   เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ประโยชน์ และโทษจากการรับประทานน้ำพริกต่างๆ รวมทั้งการน้ำวัตถุดิบง่ายมาทำน้ำพริกอย่างรู้คุณค่า โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำพริก
(ส 3.1 . 2/4)
มาตรฐาน 3.2
-   อธิบายแลกเปลี่ยนวิธีการตำน้ำพริก โดยวิธีต่างๆ ได้
(ส 3.2 . 2/1)
บอกความสัมพันธ์ของผู้ซื้อและผู้ขายน้ำพริกเครื่องเคียงเครื่องแนมต่างๆ ได้(ส 3.2 . 2/2)

มาตรฐาน ส 2.1
-    เข้าใจและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นที่แตกต่างจากตนเองได้โดยไม่มีอคติ
(ส 2.1 ป. 2/3)
-   เห็นคุณค่าของวิถีและวัฒนธรรมการรับประทานน้ำพริกของแต่ละพื้นถิ่น รวมทั้งเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมและฐานทรัพยากรในแต่ละพื้นถิ่นที่ควรค่าต่อการดูแลให้อยู่ในภาวะที่สมดุลอย่างยั่งยืน
(ส 2.1 ป. 2/3)
จุดเน้นที่1
มารยาทไทยพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ มีกริยาสุภาพอ่อนหวาน
(จุดเน้นที่1 1.1 ป.2/1)
จุดเน้นที่2
ปฏิบัติตามพระบรมราโชวาทหลักการทรงงาน และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความขยันอดทน รู้จักพึ่งพาตนเองในการประดิษฐ์น้ำพริก และมีความสามัคคีเมื่อทำงานกลุ่ม (จุดเน้นที่2 ป.2/5)
จุดเน้นที่3
-    ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบและหน้าที่ของตนเอง เช่นการแต่งกาย การเข้าแถว และการดูแลพื้นที่ของตนเองหลังจากทำงานเสร็จเรียบร้อย
(จุดเน้นที่3 3.1 ป.2/6)
รู้หน้าที่ของตนเอง เป็นผู้นำและสมาชิกที่ดี มีรับผิดชอบต่อการทำงาน (จุดเน้นที่3 3.2 ป.2/7)
มาตรฐาน ส 4.2
- สามารถสืบค้นและเข้าใจวิถีชีวิตของการรับประทานน้ำพริกและการเปลี่ยนแปลงของน้ำพริกตามสมัยต่างๆอย่างต่อเนื่อง
(ส 4.2 ป.2/1)
- ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากการนิยมรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป อีกทั้งทรัพยากร เช่น เคย กุ้งเคย ปลา ที่เคยอุดมสมบูรณ์ได้ลดน้อยลง
(4.2 .2/2)

มาตรฐาน พ 1.1
เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย แล้วสามารถเลือกรับประทานและตำน้ำพริกได้เหมาะสม ปลอดภัย ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น (พ 1.1ป.4/1)
มาตรฐาน พ 2.1
มีสัมพันธภาพที่ดีต่อเพื่อนเห็นความสำคัญของเพื่อนในการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน (พ 2.1 .2/2)
มาตรฐาน พ 5.1
สามารถปฏิบัติตนในการป้องกันและหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุระหว่างการตำและสร้างสรรค์น้ำพริกได้ (พ 5.1 ป. 2/1)
มาตรฐาน ศ1.1
-มีทักษะขั้นพื้นฐานในการใช้เครื่องมือ และเลือกอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน 3 มิติ จากการตกแต่ง จัดจานน้ำพริกให้ดูน่ารับประทานและเหมาะสม
(ศ 1.1ป.2/4)
-สามารถสร้างสรรค์ผลงานวาดภาพประกอบชาร์ตความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำพริกรวมทั้งสามารถบรรยายหรือถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ศ 1.1 ป. 2/1-7)
มาตรฐาน ง 1.1
เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงาน ด้วยความสะอาด รอบคอบและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(ง 1.1 ป.3/1)
มาตรฐาน ง 2.1
- สร้างน้ำพริกอย่างง่ายโดยการกำหนดเป้าหมายและการเลือกวัตถุดิบที่เหมาะสมและปลอดภัย (ง 2.1 .2/2)
- สามารถนำความรู้ในการใช้เครื่องมือต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในการตำน้ำพริกได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย (ง 2.1.2/3)
- มีความคิดสร้างสรรค์
ในการตำและจัดจานน้ำพริก ด้วยวัตถุดิบ และวิธีการที่เหมาะสม ระมัดระวังทั้งต่อตนเองและผู้อื่น (ง 2.1 ป. 2/4)


สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
หน้าที่พลเมือง
ประวัติศาสตร์
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปศึกษา
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สรุปองค์ความรู้
-วิเคราะห์สิ่งที่อยากเรียนรู้
-สิ่งที่ดีแล้ว สิ่งที่ควรปรับปรุง
- สรุปความรู้หลังเรียนรู้
( Mind Mapping หรือ การ์ตูนช่อง
-นำเสนอการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 8.1 
- เข้าใจและใช้กระบวนการการทางวิทยาศาสตร์ ตั้งคำถามและหาคำตอบเกี่ยวกับน้ำพริกในปัจจุบันและอนาคตผ่านการทำชิ้นงานแผนภาพความคิดและการแสดงแล้วนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งที่ตนเองศึกษาอย่างมีเหตุมีผล (ว 8.1 ป.2/1)
- จัดกลุ่มข้อมูลเปรียบเทียบและนำเสนอผลการศึกษาเรียนรู้ แสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มรวบรวม และสรุปความรู้จากสิ่งที่อยากเรียนรู้พร้อมทั้งระบุสิ่งที่ดีแล้วและสิ่งที่ควรปรับปรุงในการเรียนรู้ได้ 
(ว 8.1 ป.2/4-6)
- บันทึกและอธิบายผลการศึกษาค้นคว้า การตรวจสอบ โดยสรุปเป็นMind Mapping หรือคำอธิบาย แล้วนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้  (ว 8.1 ป.2/7-8)
มาตรฐาน ส 1.1
ชื่นชมเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่นระหว่างการทำงานร่วมกัน
 (ส 1.1 . 2/5)
มาตรฐาน ส 1.2
ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง
 (ส 1.2 . 2/1)
มาตรฐาน ส2.1
- ยอมรับในความคิด และความเชื่อของของผู้อื่นที่มีความแตกต่างจากตนเองในการเลือกและกำหนดสิ่งที่อยากเรียนรู้
(ส 2.1 . 2/3)
- เคารพและให้เกียรติในสิทธิและเสรีภาพของตนเองและผู้อื่นในการเลือกและตัดสินใจ อย่างไม่มีอคติ
 (ส 2.1 . 2/4)
จุดเน้นที่1
มารยาทไทยพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ มีกริยาสุภาพอ่อนหวาน
(จุดเน้นที่1 1.1 ป.2/1)
จุดเน้นที่3
ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบและหน้าที่ของตนเอง เช่นการแต่งกาย การเข้าแถว และการดูแลพื้นที่ของตนเองหลังจากทำงานเสร็จเรียบร้อย
(จุดเน้นที่3 3.1 ป.2/6)
รู้หน้าที่ของตนเอง เป็นผู้นำและสมาชิกที่ดี มีรับผิดชอบต่อการทำงาน (จุดเน้นที่3 3.2 ป.2/7)
มาตรฐาน ส 4.3
-    เห็นคุณค่าของน้ำพริกและวัตถุดิบจากพื้นถิ่นอื่นๆเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับน้ำพริกและนำไปประยุกต์เป็นน้ำพริกอื่นๆ หรืออาหารจานใหม่ได้ (ส 4.3 .2/1)
-    ยกตัวอย่าง วัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาไทยในการสืบทอดสูตรน้ำพริก (ส 4.3 .2/2)

มาตรฐาน พ2.1
- ระบุบทบาทหน้าที่ของตนเองต่อสมาชิกในกลุ่มและเพื่อนร่วมชั้นในการวางแผนสรุปการเรียนรู้
(พ 2.1 . 2/1)
- ให้เกียรติและเห็นความสำคัญของเพื่อนต่อกระบวนการเรียน การทำงาน รวมทั้งการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันได้
(พ 2.1 . 3/2)

มาตรฐาน ศ 1.1
ใช้วัตถุดิบอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ได้อย่างเหมาะสม
(ศ 1.1 ป.2/4)
-สามารถสร้างสรรค์ผลงานและออกแบบภาพประกอบการ์ตูน นิทานเพื่อตกแต่งผลงานพร้อมทั้งนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้(ศ1.1 ป.2/1-7)
มาตรฐาน ศ 2.1
สามารถร้องเพลงประกอบการแสดงสรุปการเรียนรู้ พร้อมทั้งเคลื่อนไหวท่าทางได้เหมาะสมสอดคล้องกับเพลงที่ร้อง (ศ2.1 ป.3/5)
มาตรฐาน ศ 3.1
มีมารยาทในการเป็นผู้ชมและผู้แสดงที่เหมาะสม
(ศ 3.1 ป.2/5)
มาตรฐาน ง1.1
ทำงานได้ด้วยตนเอง แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและมีความระมัดระวังรอบคอบในการทำงาน
 (ง 1.1 . 2/3)
มาตรฐาน ง 2.1
มีความคิดสร้างสรรค์สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ง 2.1 ป.2/4)

สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากรู้

สิ่งที่รู้แล้ว
สิ่งที่อยากเรียนรู้
§  น้ำพริกมีหลายชื่อ/หลายชนิด
§  น้ำพริกกินได้
§  น้ำพริกบางอย่างเก็บไว้กินนานๆ ได้
§  น้ำพริกมีประโยชน์
§  กินพริกเยอะจะแสบท้อง
§  กินพริกแล้วเผ็ด
§  ใช้ขวดตำน้ำพริกได้
§  จับพริกแล้วถูตาจะแสบตา
§  น้ำพริกกินกับผัก
§  พริกเข้าตาแล้วให้ลืมตาในน้ำ
§  กินพริกเยอะเป็นโรคกระเพาะ
§  พริกป่นตำกับใบมะกรูด
§  น้ำพริกช่วยให้เจริญอาหาร
§  พริกมีสีแดง ส้ม เหลือ และเขียว
§  พริกหยวกไม่เผ็ด
§  ปลาทูทำน้ำพริกได้
§  พริกแห้งทำพริกป่น
§  พริกเป็นเครื่องปรุง
§  คั่วพริกป่นมีกลิ่นฉุน
§  ทำไมพริกเผ็ด
§  น้ำพริกเกิดมาได้อย่างไร
§  ทำไมต้องชื่อน้ำพริก
§  น้ำพริกเกิดขึ้นจากประเทศใด
§  ประเทศใดกินน้ำพริกมากที่สุด
§  น้ำพริกบางอย่างไม่มีน้ำทำไมเรียกน้ำพริก
§  น้ำพริกมีรสหวานหรือไม่
§  ทำไมคนสมัยก่อนชอบทานข้าวกับน้ำพริก/ผัก
§  น้ำพริกไข่เค็มตำอย่างไร
§  น้ำพริกมีคุณค่าทางอาหารหรือไม่/อย่างไร
§  ทำไมคนอังกฤษไม่กินน้ำพริก
§  ทำไมบางครั้งต้องทำให้พริกสุกก่อนตำ
§  แมงดานำมาทำน้ำพริกได้อย่างไร
§  ทำไมคนอีสานกินน้ำพริกปลาร้า
§  น้ำพริกมีประโยชน์มากแต่ไหน
§  ทำไมแต่ละภาคมีน้ำพริกต่างกัน

ชิ้นงาน