เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 Topic: " คุณค่าของน้ำพริก "
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เข้าใจและสามารถทำน้ำพริกสูตรต่างๆ ที่มีคุณค่า ถูกหลักโภชนาการ เลือกรับประทานได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง

week5



  • เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนรู้และเข้าใจที่มาของน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ สามารถนำวัตถุดิบ ตลอดจนหาเครื่องแนมของน้ำพริกแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสม และนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

    Week
    Input
    Process
    Output
    Outcome
    5
    9-13
    ก.พ.
    58

    โจทย์ :
    - น้ำพริกกะปิ
    - น้ำพริกลงเรือ

    Key Questions :
    -       นักเรียนจะตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือได้อย่างไร
    -       น้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง

    เครื่องมือคิด :
    -   Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับวัตถุดิบ วิธีปรุงน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ รวมทั้งเครื่องเคียง เครื่องแนม
    -   Round Robin 
    -    แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการตำน้ำพริกกะปิหรือน้ำพริกลงเรือ
    วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
    ชง : นักเรียนดูคลิป กบนอกกะลา ตอน “กะปิเรื่องคุ้นเคยของเคยเคย” ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างจากการดูคลิป?”
    เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นในคลิป กบนอกกะลา ตอน “กะปิเรื่องคุ้นเคยของเคยเคย”
    ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “กะปิทำจากอะไรและมีวิธีการทำอย่างไร?”
    เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ใช้ทำกะปิและวิธีการทำกะปิ
    ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
    -      “นักเรียนรู้จักน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือหรือไม่?”
    -      “นักเรียนคิดว่า น้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือมีวัตถุดิบและวิธีการทำอย่างไรบ้าง?”
    เชื่อม :
    -      นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสูตรน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ
    -      นักเรียนแต่ละกลุ่มหาข้อมูลน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ
    พร้อมทำชาร์ตความรู้วัตถุดิบ วิธีการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ ( อินเทอร์เน็ต ห้องสมุด หรือผู้รู้ )

    ภาระงาน
    -       สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับ  การทำกะปิ วัตถุดิบ วิธีตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ
    -       วางแผนเตรียมวัตถุดิบ อุปกรณ์ในการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ
    -       วางแผนพัฒนาสูตรตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ
    ความรู้
    - เข้าใจที่มาของน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ สามารถนำวัตถุดิบ ตลอดจนหาเครื่องแนมของน้ำพริกแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสม และนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
    - สามารถตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือเพื่อรับประทาน อีกทั้งยังสามารถเลือกเครื่องเคียง เครื่องแนมมารับประทานคู่กันได้อย่างเหมาะสม

    ทักษะ :
    ทักษะชีวิต
    ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในปรุงน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือให้อร่อยคุ้มค่าและเหมาะสม
    - ทำงานอย่างมีเป้าหมายและมีการวางแผนในการปรุงน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ เครื่องเคียง เครื่องแนม (เช่น ชะอมไข่ ผักสด/ลวก)
     - นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ (เลือกตำน้ำพริกรับประทานเองได้)

    Week
    Input
    Process
    Output
    Outcome
    5
    9-13
    ก.พ.
    58

    -      แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับเครื่องเคียง เครื่องแนมที่จะนำมารับประทานกับน้ำพริก
    -          Show and Share
    -     นำเสนอชาร์ตความรู้เกี่ยวกับตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ (วัตถุดิบ อุปกรณ์และวิธีการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ)
    -     นำเสนอน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ
    -          Wall Thinking
    -     ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ (วัตถุดิบ อุปกรณ์และวิธีการตำ
    -     ติดชิ้นงานสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์ (การ์ตูนช่องหรือ Mind Mapping)


    วันอังคาร ( 2 ชั่วโมง )
    เชื่อม :
    -      นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ ( Show  and Share ) ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ วิธีการตำน้ำพริกกะปิ และน้ำพริกลงเรือ
    -      ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวัตถุดิบ วิธีการตำน้ำพริกกะปิ น้ำพริกลงเรือ และเสนอแนะเพิ่มเติม

    วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
    ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะวางแผนในการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรืออย่างไรบ้าง?”
    เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนในการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ เช่น หน้าที่รับผิดชอบ/วัตถุดิบ/อุปกรณ์ ตลอดจนเครื่องเคียง เครื่องแนม

    วันศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
    ชง :
    -      ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะมีวิธีการตำน้ำพริกอย่างไรให้อร่อย?”
    -      ครูแนะนำการใช้อุปกรณ์ที่เป็นอันตราย เช่น มีด ไฟ เป็นต้น เช่น มีด ไฟ เป็นต้น
    เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ เตรียมเครื่องเคียงหรือเครื่องแนม พร้อมทั้งจัดจานให้สวยงาม
    ชิ้นงาน
    -       น้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ
    -       ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ (วัตถุดิบ อุปกรณ์และวิธีการตำ
    -       สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ (การ์ตูนช่องหรือ Mind Mapping)
    ทักษะการสื่อสาร
    - มีเป้าหมายในการนำเสนอน้ำพริกของตนเอง รับฟังการนำเสนอน้ำพริกของกลุ่มอื่นที่แตกต่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
    - มีความถูกต้องชัดเจนในการนำเสนอน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือทั้งการพูด การเขียน และการแสดงออก
    - เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
    - สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้จากการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านกิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ทักษะการจัดการข้อมูล
    - มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือด้วยวิธีการที่หลากหลาย ( ถามผู้รู้ ค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต )
    - จำแนกและจัดหมวดหมู่สาเหตุของปัญหาที่เกิดระหว่างตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือได้ถูกต้องเหมาะสม


    Week
    Input
    Process
    Output
    Outcome
    5
    2-6
    ก.พ.
    58

    ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
     - ครู
     - นักเรียน

    บรรยากาศ/สื่อ :
    - บรรยากาศในชั้นเรียน
    - คลิป กบนอกกะลา ตอน “กะปิเรื่องคุ้นเคยของเคยเคย”
    - แท็บเล็ต
    - สื่อจริง วัตถุดิบของน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ เช่น กะปิ พริก ผัก ฯลฯ
    ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนใช้วัตถุดิบแต่ละชนิด อย่างไร มีวิธีการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรืออย่างไร?”
    เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ ( Show  and Share ) เกี่ยวกับปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ วิธีการตำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ ครูและเพื่อนๆ ร่วมอภิปรายเพิ่มเติม
    ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่ารูปแบบการจัดจานน้ำพริกของแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไรบ้าง?”
    เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดจานน้ำพริกของแต่ละกลุ่ม
    ชง : ครูและนักเรียนชิมน้ำพริกของแต่ละกลุ่มพร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “น้ำพริกมีรสชาติอย่างไรบ้าง?”
    เชื่อม :
    -      ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรสชาติของน้ำพริกและเสนอแนะเพิ่มเติม
    -      นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผน แบ่งหน้าที่เตรียมวัตถุดิบมาพัฒนาสูตรน้ำพริกของตนเอง
    ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
    -      “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
    -      “นักเรียนได้เรียนรู้อย่างไร?”
    -      “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 

    - มีการจัดกลุ่มความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร   ที่ได้จากการสืบค้น จำแนกเป็นประเด็นความรู้เดิม กับประเด็นที่เป็นความรู้ใหม่ หรือนำเสนอประเด็นที่เป็นสาระสำคัญได้อย่างสอดคล้องน่าเชื่อถือ
    - สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ แก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้

    ทักษะการอยู่ร่วมกัน
    - ทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นขณะตำน้ำพริกและจัดเครื่องเคียงและเครื่องแนม
    - มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในการจัดเตรียมวัตถุดิบ อุปกรณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอื่นได้
    - เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการตำน้ำพริก ปรุงรสร่วมกับผู้อื่น




    Week
    Input
    Process
    Output
    Outcome
    5
    9-13
    ก.พ.
    58


    -      “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
    เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
    ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
    (การบ้าน เตรียมวัตถุดิบมาพัฒนาสูตรตำน้ำพริกอีกครั้งในวันจันทร์หน้า)

    ทักษะการคิดสร้างสรรค์
    ปรุงรสชาติของน้ำพริกและการจัดจานเครื่องเคียงให้สวยงามและมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม
    - แก้ไขปัญหาระหว่างการตำน้ำพริกของตนเองได้ เช่น น้ำพริกเค็มหรือเผ็ด

    ทักษะ ICT
    สามารถสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสมต่างๆ ของน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยใช้ แท็บเล็ต

    คุณลักษณะ
    มีความพยายาม อดทนในการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือให้สำเร็จ
    รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็นขณะปรุงน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ
    - เคารพ ยอมรับและรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
    - รับผิดชอบต่อตนเองในการเตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์ละสิ่งอื่นๆ
    - อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
กิจกรรม



























 ชิ้นงาน


















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ๆได้เรียนรู้เกี่ยวกับการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ วันแรกของสัปดาห์ครูให้พี่ๆดูคลิปกบนอกกะลา ตอน “กะปิเรื่องคุ้นเคยของคนเคยเคย” ก่อนดูครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าจากชื่อเรื่องน่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ค่ะ”
    พี่ต้นกล้า “คนเคยกินกะปิครับ”
    พี่น้ำตาล “กะปิที่เราเคยกินค่ะ”
    เพื่อนคนอื่นๆ ก็คิดคล้ายๆ กัน พอพี่ๆ ได้ดูคลิปตอนเริ่มต้น พี่ๆ ตื่นเต้นว่าตอบถูกแล้วเป็นเรื่องของน้ำพริกกะปิ แต่พอถึงตอนทำกะปิ พี่ๆ ถึงได้เข้าใจว่า คำว่า “เคย” คือกุ้งเคย และเคยที่ใช้ทำกะปินั่นเอง คนที่ไม่เคยรู้จักกุ้งเคยก็สามารถบอกได้ว่าคืออะไรหลังจากดูคลิป และในคลิปยังบอกวิธีทำกะปิด้วย เมื่อดูคลิปจบ ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างในคลิปนี้” พี่ๆ บอกว่า กุ้งเคยค่ะ ครูจึงถามเกี่ยวกับการทำกะปิ มีวิธีการทำอย่างไรบ้าง
    พี่อิ๋ง “จับกุ้งเคยมา ล้างให้สะอาด หมักเกลือหนึ่งคืน”
    พี่แป๋ม “เอามาตากแดดสามวันค่ะ แล้วเอามาตำให้ละเอียด”
    ครู “แล้วเด็กๆ คิดว่าทำไมในคลิป จึงใช้ครกไม้ ไม่ใช้ครกดิน หรือครกหินตำ”
    พี่ฟีฟ่า “ครกหินกับครกดินเล็กค่ะ
    พี่แม็ค “ครกหินตำแรงจะแตกครับ
    พี่โอ๊ต “ครกหินกับครกดินตำแรงไม่ได้เดี๋ยวแตกครับ”
    พี่พี “ผมคิดว่า เดี๋ยวดินจะหลุดใส่กะปิครับ”
    จากนั้นครูบอกโจทย์น้ำพริกของสัปดาห์นี้ คือน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ พี่ๆจับฉลากน้ำพริกที่จะได้ตำ และค้นหาข้อมูลว่ามีส่วนผสมอะไรบ้างและมีวิธีการตำอย่างไรจากอินเทอร์เน็ตและจากที่ได้สอบถามผู้ปกครองในวันหยุดที่ผ่านมา จากนั้นออกแบบชาร์ตความรู้การตำน้ำพริก พร้อมเครื่องเคียง เครื่องแนมที่ใช้รับประทานร่วมกัน
    วันอังคารพี่ๆ ตกแต่งชาร์ตความรู้ของตนเองต่อและได้นำเสนองานของตนเองครูและเพื่อนๆ เสนอแนะเพิ่มเติม โดยขณะที่นำเสนอพี่ๆ หลายคนสงสัยว่ามะอึกที่ใส่ในน้ำพริกลงเรือเป็นอย่างไร
    พี่โอ๊ต “ครูครับผมรู้จัก ผมเคยกิน เป็นสีเหลืองๆ รสเปรี้ยว ผมมีหนามด้วย”
    ครู “ในโรงเรียนของเรามีไหมค่ะ”
    พี่โอ๊ต “มีครับ อยู่ตึกมัธยม”
    ครู “พี่ๆ คนไหนอยากเห็นเวลาว่างไปดูได้นะคะ”
    วันต่อมาพี่ๆ ได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเตรียมส่วนผสมต่างๆ และอุปกรณ์ที่ต้องใช้ เพื่อนนำมาทำในวันศุกร์
    วันศุกร์ ครูพาพี่มาตำน้ำพริกที่ลานหน้าห้องดนตรี ก่อนเริ่มการตำน้ำพริกครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดกับพี่ๆ ว่า “ทำไมกะปิต้องมีของปิดอยู่ด้านบน คิดว่าเป็นอะไรคะ”
    พี่ลาร์ด “ครูครับมันเป็นเทียน กินไม่ได้ แม่ผมบอก”
    พี่แม็ค “เทียนครับ”
    ครู “กินไม่ได้แล้วเค้าใส่มาให้เราทำไม รู้ไหมคะ”
    พี่ภู “ไม่ให้กะปิแห้งครับ”
    พี่เปรม “ใส่ให้เยอะๆ หรือเปล่าครับ”
    ครู “พี่ๆ ลองค้นหาดูนะคะว่าเค้าใส่เทียนไว้ได้บนกะปิทำไม”
    พี่ๆ “ครับ/ค่ะ”
    จากนั้นพี่ๆ ลงมือตำน้ำพริกกะปิ น้ำพริกลงเรือ โดยกลุ่มน้ำพริกลงเรือปิ้งกะปิก่อน และคั่วหอมกะเทียม โดยบอกว่าจะทำให้หอมขึ้น และเพื่อนคนอื่นๆ ก็จัดจานผักมีทั้งผักลวก ผักต้มและผักทอด กลุ่มน้ำพริกลงเรือเตรียมหมูมาทำหมูหวานด้วย ครูช่วยแนะนำการทำหมูหวาน จากนั้นพี่ๆก็ได้จานน้ำพริกของกลุ่มตนเอง พร้อมจะนำเสนอ
    ครูและนักเรียนเก็บอุปกรณ์ต่างๆ หลังจากทำงานและนำน้ำพริกกลับมานำเสนอที่ห้องเรียน พูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างการตำน้ำพริกมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง และพี่ๆ ทำอย่างไร จากนั้นชิมน้ำพริกของแต่ละกลุ่มโดยบางกลุ่มเผ็ดบ้าง บางกลุ่มขม ครูจึงถามว่า “คิดว่าทำไมขม” พี่ๆ “กะปิไหม้ค่ะ/ครับ” จากนั้นพี่ๆ ได้คุยกันในกลุ่มจัดเตรียมส่วนผสมและอุปกรณ์มาทำอีกครั้งในวันจันทร์หน้า
    ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์นี้ได้เรียนรู้อะไรบ้าง มีปัญหาเกิดขึ้นหรือไม่ พี่ๆ ทำอย่างไร และพี่ๆ สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์เป็นการบ้าน

    ตอบลบ