เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 Topic: " คุณค่าของน้ำพริก "
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เข้าใจและสามารถทำน้ำพริกสูตรต่างๆ ที่มีคุณค่า ถูกหลักโภชนาการ เลือกรับประทานได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง

week4

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถพัฒนาสูตรน้ำพริกปลาร้าบองและปลาทู โดยใช้วัตถุดิบได้อย่างคุ้มค่าและถูกหลักโภชนาการ

Week
Input
Process
Output
Outcome
4
2-6
ก.พ.
58

โจทย์ :
-   น้ำพริกปลาร้าบอง
-   น้ำพริกปลาทู

Key Question :
เราจะพัฒนาสูตรการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูให้อร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการได้อย่างไร

เครื่องมือคิด :
-    Brainstorms ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับส่วนผสมหลักของน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู วิธีปรุง เครื่องเคียงน้ำพริก
-    Round Robin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
-    Show and Share 
-   นำเสนอน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูโดยนำไปให้คุณครู พี่ๆและน้องชั้นอื่นๆ ได้ชิม

วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง : ครูให้นักเรียนสังเกตวัตถุดิบในการตำน้ำพริก เช่น ข่า ตะไคร้ พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-   “ทำไมต้องใส่ตะไคร้?”
-   “ไม่ใส่ได้หรือไม่?”
-   “ถ้าไม่ใส่จะเป็นอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู เพื่อค้นหาสูตรที่คิดว่าอร่อยที่สุด เตรียมเครื่องเคียงหรือเครื่องแนม พร้อมทั้งจัดจานให้สวยงาม
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-    “น้ำพริกมีรสชาติอย่างไร?”
-    “คิดว่าเหมือนหรือแตกต่างจากรสชาติเดิมหรือไม่?”
-    “คิดว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?”
-    “แล้วชอบสูตรไหน?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรสชาติ และวิธีการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
ใช้ : นักเรียนนำเสนอน้ำพริกที่ทำ โดยการนำไปให้คุณครู พี่ๆและน้องชั้นอื่นๆ ได้ชิมพร้อมรับข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

ภาระงาน
-       บันทึก วัตถุดิบอัตราส่วนผสม วิธีทำ ความคิดเห็นของผู้ที่ได้ชิมลงในสมุดบันทึก
-       สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับรสชาติ สูตร วิธีตำน้ำพริก
-       ปรับปรุงสูตรน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
-       นำเสนอชาร์ตความรู้สูตรน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู

-       ชิ้นงาน
-       น้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
-       ชาร์ตความรู้สูตรน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
-        Mind Mapping สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
- เข้าใจและสามารถพัฒนาสูตรน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู โดยใช้วัตถุดิบได้อย่างคุ้มค่าและถูกหลักโภชนาการ
- สามารถตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูเพื่อรับประทาน อีกทั้งยังสามารถประยุกต์รับประทานกับอาหารชนิดอื่นๆได้อย่างเหมาะสม

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในปรุงน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูให้อร่อยมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและมีการวางแผนในการปรุงน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู เครื่องเคียงและเครื่องแนม
- มีความยืดหยุ่นต่อการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู การปรุงรสน้ำพริกเพื่อให้ได้วิธีในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย เช่น ถ้าน้ำพริกเค็มหรือเผ็ด จะแก้ปัญหาอย่างไร
- นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ (เลือกตำน้ำพริกรับประทานเองได้)


Week
Input
Process
Output
Outcome
4
2-6
ก.พ.
58

-     นำเสนอชาร์ตความรู้สูตรน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูและประโยชน์จากวัตถุดิบต่างๆ
-        Mind Mapping สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์
-        Wall Thinking 
-     ติดชิ้นงานชาร์ตสูตรน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูของแต่ละกลุ่ม
-     ติดชิ้นงาน Mind Mapping สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
 - ครู
 - นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
-     บรรยากาศในชั้นเรียน
-     บริเวณโรงเรียน
-     แท็บเล็ต
-     สื่อจริงวัตถุดิบของน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู เช่น พริก ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ฯลฯ
วันอังคาร ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
-      ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในวันจันทร์ที่ผ่านมา
-      นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อเสนอแนะจากการนำน้ำพริกให้คุณครู พี่และน้องได้ชิมให้เพื่อนๆ และคุณครูรับฟัง
-      ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการตำน้ำพริกและได้เรียนรู้อย่างไร?” “จากการตำน้ำพริกนักเรียนเจอปัญหาหรือไม่แล้วมีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และอภิปรายร่วมกัน
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะออกแบบชาร์ตความรู้เกี่ยวกับสูตรน้ำพริกและประโยชน์ของน้ำพริกอย่างไรให้น่าสนใจ?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบชาร์ตความรู้สูตรน้ำพริกและประโยชน์ของน้ำพริก
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนชาร์ตความรู้สูตรน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู ประโยชน์ของวัตถุดิบต่างๆ และคุณค่าทางโภชนาการ

ทักษะการสื่อสาร
- มีเป้าหมายในการนำเสนอน้ำพริกของตนเอง รับฟังการนำเสนอน้ำพริกของกลุ่มอื่นที่แตกต่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความถูกต้องชัดเจนในการนำเสนอน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูทั้งการพูด การเขียน และการแสดงออก
- เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้จากการตำน้ำพริกปลาร้าบองและปลาทูให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านกิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูด้วยวิธีการที่หลากหลาย ( ถามผู้รู้ ค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต )
- จำแนกและจัดหมวดหมู่สาเหตุของปัญหาที่เกิดระหว่างตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูได้ถูกต้องเหมาะสม







Week
Input
Process
Output
Outcome
4
2-6
ก.พ.
58


วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
เชื่อม :
-      นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ ( Show  and Share ) ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับสูตรน้ำพริกปลาร้าบอง น้ำพริกปลาทู และประโยชน์ของวัตถุดิบต่างๆ
-      ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาในชาร์ตความรู้ของแต่ละกลุ่ม และอภิปรายร่วมกัน

วันศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อย่างไร?”
-      “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
-      “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการตำน้ำพริกตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
(การบ้าน นักเรียนสอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับการตำน้ำพริกกะปิและน้ำพริกลงเรือ)

- มีการจัดกลุ่มความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร   ที่ได้จากการสืบค้น จำแนกเป็นประเด็นความรู้เดิม กับประเด็นที่เป็นความรู้ใหม่ หรือนำเสนอประเด็นที่เป็นสาระสำคัญได้อย่างสอดคล้องน่าเชื่อถือ
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู แก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้

ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- ทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นขณะตำน้ำพริกและจัดเครื่องเคียง
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในการจัดเตรียมวัตถุดิบ อุปกรณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอื่นได้
- เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการตำน้ำพริก ปรุงรสร่วมกับผู้อื่น



Week
Input
Process
Output
Outcome
4
2-6
ก.พ.
58




ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ปรุงรสชาติของน้ำพริกและการจัดจานเครื่องเคียงให้สวยงามและมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม
- แก้ไขปัญหาระหว่างการตำน้ำพริกของตนเองได้ เช่น น้ำพริกเค็มหรือเผ็ด
- นำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูที่ได้ประยุกต์และนำไปทำเป็นอาหารจานใหม่ได้

ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์จากส่วนผสมต่างๆ ของน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูได้ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตโดยใช้ แท็บเล็ต

คุณลักษณะ
มีความพยายาม อดทนในการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูให้สำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็นขณะปรุงน้ำพริกและขณะพัฒนาสูตรน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
- เคารพ ยอมรับและรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- รับผิดชอบต่อตนเองในการเตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์ละสิ่งอื่นๆ
- อยู่ร่วมกับผู้อื่นและทำงานได้อย่างมีความสุข



กิจกรรม













 ชิ้นงาน












1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้เป็นการปรับปรุงสูตรน้ำพริกจากสัปดาห์ที่ผ่านมา พี่ๆลงมือตำน้ำพริกกันอย่างคล่องแคล่ว เมื่อทุกคนตำน้ำพริกและเตรียมผักที่จะรับประทานคู่กันแล้ว ครูและนักเรียนนั่งสนทนแลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับการจัดจานน้ำพริก พี่ๆ บอกว่าครั้งนี้ดูสวยกว่าครั้งที่แล้ว และก็อร่อยกว่าด้วย จากนั้นจึงได้นำไปให้น้องป.1 ได้ชิม ปรากฏว่าน้องชอบน้ำพริกปลาร้าบองของพี่ๆ กลุ่ม 4 มากที่สุด จากการทำน้ำพริกในครั้งนี้พี่ๆ ดูสนใจในการรับประทานน้ำพริกมากขึ้น และอยากนำกลับไปให้ผู้ปกครองได้ชิมด้วย วันต่อมาครูให้พี่ๆ ได้ค้นหาประโยชน์ของการรับประทานน้ำพริกและผักต่างๆ ที่นำมาในครั้งนี้ จากนั้นพี่ๆได้นำเสนองานของกลุ่มตนเอง และวันศุกร์ครูและพี่ๆ ได้ทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งสัปดาห์ และสรุปองค์ความรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ