เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 Topic: " คุณค่าของน้ำพริก "
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เข้าใจและสามารถทำน้ำพริกสูตรต่างๆ ที่มีคุณค่า ถูกหลักโภชนาการ เลือกรับประทานได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง

week3


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุดิบหลักในการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู อีกทั้งสามารถนำวัตถุดิบต่างๆ มาตำเป็นน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
3
26-30 ม.ค.
58


โจทย์ :
- น้ำพริกปลาร้าบอง
- น้ำพริกปลาทู

Key Question :
เราจะทำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูให้อร่อยและมีคุณค่าอย่างไร

เครื่องมือคิด :
- Brainstorms  ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับส่วนผสมหลักของน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู วิธีปรุง เครื่องเคียง เครื่องแนม
- Round Robin 
- แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการทำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
- แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับผักที่รับประทานกับน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
- นักเรียนชักเย่อความคิด ปลาร้าทำให้น้ำพริกอร่อยกว่าปลาทูจริงหรือ
 - วิทยาการ (แม่ครัว) สาธิตการทำน้ำพริกปลาร้าบอง ให้นักเรียนดูและชิม
 - ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “น้ำพริกปลาร้าบอง มีรสชาติอย่างไรบ้าง?
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรสชาติน้ำพริกปลาร้าบอง
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-               “ปลาร้าเป็นอาหารของคนภาคใด เพราะอะไรจึงคิดเช่นนั้น?”
-               “ปลาร้ามีวิธีทำอย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับปลาร้าเป็นอาหารของคนภาคใด และวิธีการทำปลาร้า
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูมีวิธีการตำอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
ภาระงาน
-       สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับ  การทำปลาร้า วัตถุดิบ วิธีทำน้ำพริกจากปลาร้า
-       ออกแบบและวางแผนทำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
-       บันทึก อัตราส่วนผสม วิธีทำ และความคิดเห็นของผู้ที่ได้ชิม
-       ออกแบบและวางแผนพัฒนาสูตรทำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู

ชิ้นงาน
-       น้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
-       ใบความรู้สูตรน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
-       สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
- เข้าใจเกี่ยวกับวัตถุดิบหลัก ในการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู อีกทั้งสามารถนำวัตถุดิบต่างๆ มาตำเป็นน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูได้
- ตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูรับประทานเองได้ อีกทั้งนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในพื้นถิ่นปรุงเป็นน้ำพริกได้อย่างคุ้มค่าและถูกหลักโภชนาการ

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้ส่วนผสมต่างๆ ที่มีอยู่อย่างเหมาะสมในปรุงน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูให้อร่อยและได้คุณค่าทางอาหาร
- ตำน้ำพริกอย่างมีเป้าหมายและมีการวางแผนในการปรุงน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูให้พอดีจัดจานผัก เครื่องเคียงและเครื่องแนม
- อธิบาย สรุปองค์ความรู้ได้จากการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู


Week
Input
Process
Output
Outcome
3
26-30 ม.ค.
58


- Show and Share 
  นำเสนอการวางแผนตำน้ำพริกปลาร้าและน้ำพริกปลาทู/ชิม/ข้อเสนอแนะ
- Wall Thinking ติดชิ้นงานใบความรู้สูตรน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูของแต่ละกลุ่ม
- ชักเย่อความคิด ปลาร้าทำให้น้ำพริกอร่อยกว่าปลาทูจริงหรือ

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
 - ครู
 - นักเรียน
 - วิทยากร/ผู้รู้ (แม่ครัวโรงเรียน)



ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะรับประทานน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูร่วมกับผักอะไรถึงจะอร่อยและมีประโยชน์ต่อร่างกายเรา?”
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับผักต่างๆ ที่รับประทานกับน้ำพริก
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะวางแผนตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู อย่างไรให้มีคุณค่าทางโภชนาการ?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวางแผนตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนและออกแบบสูตรการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู และเครื่องเคียงหรือเครื่องแนม (นักเรียนสืบค้นข้อมูลนอกเวลาเรียนเพิ่มเติม จากผู้รู้อินเทอร์เน็ต หรือห้องสมุด)

วันอังคาร ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
-        ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในวันจันทร์ที่ผ่านมา
-        ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะนำเสนอการวางแผนทำน้ำพริกปลาร้าบองหรือปลาทูอย่างไรให้น่าสนใจ?”

- นำความรู้ในการตำน้ำพริกปลาร้าบองและปลาทูไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ (ตำน้ำพริกรับประทานเองได้)

ทักษะการสื่อสาร
พูดอธิบายนำเสนอวัตถุดิบวิธีปรุงน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล

ทักษะ ICT
-  อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลวิธีตำน้ำพริกที่หลากหลาย
- เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์ เช่น สอบถามผู้รู้ อินเทอร์เน็ต

ทักษะการจัดการข้อมูล
- การจัดลำดับข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการปรุงน้ำพริกและการเลือกเครื่องเคียงอย่างเหมาะสม
- คิดและเรียนรู้เกี่ยวกับการปรุงน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูและการจัดเครื่องเคียงให้สวยงาม น่าสนใจและได้คุณค่าทางอาหารเหมาะสม

Week
Input
Process
Output
Outcome
3
26-30 ม.ค.
58


บรรยากาศ/สื่อ :
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- โรงอาหารโรงเรียน
- ผักชนิดต่างๆ
- อุปกรณ์ตำน้ำพริก เช่น ครก สาก เตา ฯลฯ
- วัตถุดิบตำน้ำพริก เช่น พริก ปลาร้าสับ ปลาทู ฯลฯ
เชื่อม :
-      ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับนำเสนองานให้น่าสนใจ
-      นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการตำน้ำพริก
-      ครูและเพื่อนๆ เสนอแนะเพิ่มเติม
ใช้ : นักเรียนเขียนเพิ่มเติมสิ่งที่ครูและเพื่อนๆ เสนอแนะ

วันพฤหัสบดี ( 2 ชั่วโมง )
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบในการเตรียมวัตถุดิบและอุปกณ์ในกลุ่มอย่างไร?”
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่ม วางแผนงานการเตรียมอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำน้ำพริก

วันศุกร์( 2 ชั่วโมง )
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนใช้วัตถุดิบแต่ละชนิดอย่างไร มีวิธีการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการตำพริกและปริมาณเครื่องปรุงที่ใส่
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทู
ชง : ครูให้นักเรียนสังเกตการจัดจานของเพื่อนๆ แต่ละกลุ่มพร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่ารูปแบบการจัดจานน้ำพริกของแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไรบ้าง?”

ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นขณะตำน้ำพริกและจัดเครื่องเคียง

ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ออกแบบตกแต่งจานเครื่องเคียง เครื่องแนม ให้สวยงามและเลือกผักที่รับประทานได้หลากหลาย มีคุณค่าทางอาหารเหมาะสม
- แก้ไขปัญหาระหว่างการตำน้ำพริกของตนเองได้ เช่น ไม่มีมะนาว น้ำปลาย สามารถใช้สิ่งอื่นที่มีอยู่ทดแทนได้

คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการค้นหารข้อมูลการตำน้ำพริก
มีความพยายาม อดทนในการตำน้ำพริกให้สำเร็จและอร่อย
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็นขณะปรุงน้ำพริกหรือขณะพัฒนาผลงาน
- รับผิดชอบต่อตนเองในการเตรียมวัตถุดิบหรืออุปกรณ์ละสิ่งอื่นๆ

Week
Input
Process
Output
Outcome
3
26-30 ม.ค.
58



เชื่อม :
-      ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรสชาติของน้ำพริกและเสนอแนะเพิ่มเติม
-      นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผน แบ่งหน้าที่เตรียมวัตถุดิบมาพัฒนาสูตรน้ำพริกของตนเอง
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งสัปดาห์พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อย่างไร?”
-      “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
“นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการตำน้ำพริกปลาร้าบองและน้ำพริกปลาทูตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
 (การบ้าน เตรียมอุปกรณ์มาทำน้ำพริกอีกครั้งหลังปรับปรุงและพัฒนาสูตร)




กิจกรรม






















ชิ้นงาน
















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้โจทย์ของพี่ ป.2 คือน้ำพริกจากปลาร้าและปลาทู วันจันทร์ครูให้พี่ๆ ได้สังเกตคุณป้าแม่ครัวโรงเรียนทำน้ำพริกปลาร้าบอง โดยพี่ๆ ให้ความสนใจมาก ตั้งใจจดสูตรที่คุณป้าทำ เช่น พี่ไอซ์ “คุณป้าค่ะ หัวยาวๆ คืออะไรค่ะ
    คุณป้า “กระชายค่ะ เด็กๆ อย่าลืมต้องน้ำส่วนผสมไปคั่วให้แห้งก่อนและตำให้ระเอียด”
    พี่เจมส์ “มะขามใส่ตอนไหนครับ”
    คุณป้า “สับให้ละเอียดกับปลาร้าค่ะ เด็กๆ โขลกส่วนผสมต่างๆ ให้ละเอียดแล้วใส่ปลาร้า ใส่พริกป่น ตำให้เข้ากันก็เสร็จ”
    พี่ ป.2 “ง่ายจังเลยค่ะ/ครับ หอมด้วย”
    หลังจากคุณป้าสาธิตเสร็จ ก็ถึงเวลาที่พี่ๆ จะได้ชิม พี่ๆต่อแถวกันชิมกับผักที่นำมา เช่น ผักกระโดน สะระแหน่ ขนุน กล้วยดิบ ผักชี แตงกวา สะเดา บอกว่าอร่อยมาก และทุกคนขอบคุณคุณป้าแม่ครัวและกลับห้องเรียน จากนั้นพี่ๆ ได้จับฉลากเลือกน้ำพริกที่จะได้ตำ โดยมี 3 อย่าง คือน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกปลาทู และน้ำพริกไข่เค็ม (พี่ๆ อยากทำเพิ่มเติม) เมื่อได้น้ำพริกที่จะทำแล้ว แต่ละกลุ่มค้นหาข้อมูล ส่วนผสม วิธีตำ และเครื่องเคียงเครื่องแนมที่รับประทานร่วมกับน้ำพริก
    วันต่อมาพี่ๆ ได้ทำ Flow chart นำเสนอการตำน้ำพริกต่อ และออกมานำเสนอ ครูและเพื่อนๆ ช่วยกันเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องปรุง และผักที่จะนำมารับประทานกับน้ำพริก
    วันพฤหัสบดีพี่ๆ ได้แบ่งหน้าที่และความรับผิดขอบในการจัดเตรียมส่วนผสม และอุปกรณ์ต่างๆ
    วันศุกร์พี่ๆ ได้ตำน้ำพริกปลาร้าบอง น้ำพริกปลาทูและน้ำพริกไข่เค็ม เมื่อทุกกลุ่มตำเสร็จ จัดจานผัก ก็ถึงเวลาชิมก่อนชิมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจัดจานน้ำพริกและผักเป็นอย่างไรบ้าง” พี่ๆ แต่ละกลุ่มต่างให้ข้อเสนอแนะแต่ละกลุ่ม โดยบางกลุ่มบอกว่าเพื่อนจัดจานน้ำพริกมีแต่ผัก มองไม่เห็นน้ำพริก บ้างก็บอกว่าเพื่อนจัดสวยแล้ว จากนั้นทุกคนก็รับประทานน้ำพริกของแต่ละกลุ่ม ต่อมาครูและนักเรียนสนทนาพูดคุยกันเกี่ยวกับรสชาติน้ำพริก และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อทำในสัปดาห์หน้า
    หลังจากนั้นครูและพี่ๆ ได้ทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งสัปดาห์ และสรุปองค์ความรู้รายสัปดาห์เป็นการบ้าน พร้อมทั้งเตรียมส่วนผสม อุปกรณ์มาตำน้ำพริกในวันจันทร์หน้า

    ตอบลบ