เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 Topic: " คุณค่าของน้ำพริก "
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เข้าใจและสามารถทำน้ำพริกสูตรต่างๆ ที่มีคุณค่า ถูกหลักโภชนาการ เลือกรับประทานได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง

week2


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถวางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกันได้อย่างเป็นขั้นตอน มีเป้าหมาย และสร้างสรรค์

Week
Input
Process
Output
Outcome
2
19-23
ม.ค.
58

โจทย์ : วางแผนการเรียนรู้
                                               
Key Questions :
-     นักเรียนจะออกแบบและวางแผนการเรียนรู้ใน Quarter นี้อย่างไร
-     นักเรียนรู้อะไรบ้างและอยากรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ “น้ำพริก”

เครื่องมือคิด :
- Brainstorms 
-  ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับปฏิทินการเรียนรู้ 
- Blackboard Share 
   - สิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้ 
- Round Robin 
-      แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมในปฏิทินการเรียนรู้ 
วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
-      ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับน้ำพริกหรืออาหารที่ได้รับประทานในวันหยุดที่ผ่านมาและอาหารที่เคยทำรับประทานเอง
-      ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “สิ่งที่นักเรียนรู้แล้วมีอะไรบ้างและอยากรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับน้ำพริก?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้เกี่ยวกับน้ำพริก ( โดยผ่านเครื่องมือ Blackboard Share )
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะออกแบบปฏิทินการเรียนรู้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่อยากทำในแต่ละสัปดาห์ตลอด Quarter นี้ ( Blackboard Share )
ใช้ :
นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 2 คนเพื่อจัดทำปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์ ลงในกระดาษ  (A3) สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ ลงกระดาษ (ปรู๊ฟ)

ภาระงาน
- สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการวางแผนปฏิทินการเรียนรู้
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้
- วิเคราะห์ชื่อ และส่วนผสมของน้ำพริกจากการรับประทาน

ชิ้นงาน
- สิ่งที่รู้แล้วและ สิ่งที่อยากเรียนรู้
เค้าโครงปฏิทินการเรียนรู้ 10สัปดาห์
- สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน (Mind Mapping การ์ตูนช่องหรือบรรยาย)
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถวางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกันได้อย่างเป็นขั้นตอน มีเป้าหมาย และสร้างสรรค์

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ออกแบบและเขียน Mind Mapping / ปฏิทินได้
ออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจและสร้างสรรค์
เก็บกวาด ล้างอุปกรณ์หลังการรับประทานเสร็จ
บอกชนิด ชื่อ ของผักที่นำมารับประทานกับน้ำพริกได้
- นำความรู้ที่ได้จากการรับประทานผักไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รู้จักผักชนิดต่างๆ และเลือกรับประทานกับน้ำพริกในชีวิตประจำวัน


Week
Input
Process
Output
Outcome
2
19-23
ม.ค.
58


-      สนทนาแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับชื่อน้ำพริก
-      สนทนาแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้
-     Show and Share นำเสนอชื่อน้ำพริกที่ได้รับประทาน พร้อมบอกส่วนผสมที่ให้ตำ
-     Wall Thinking 
-      ติดชิ้นงานปฏิทินการเรียนรู้ 10 สัปดาห์
-      ติดชิ้นงาน Web น้ำพริกที่ได้รับประทาน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
 - ครู
 - นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- สื่อจริงผักชนิดต่างๆ เช่น แตงกวา หอม ผักชี ผักกาด ฯลฯ
- น้ำพริกต่างๆ เช่น น้ำพริกปลาร้าบอง น้ำพริกเผา น้ำพริกตาแดง
วันอังคาร ( 2 ชั่วโมง )
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้
ใช้ : จัดทำปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์ สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ต่อจากเมื่อวาน

วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้อะไรแล้วบ้างเกี่ยวกับน้ำพริก?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วเรื่องน้ำพริก
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนตามความเข้าใจ
(การบ้าน นักเรียนนำผักพื้นบ้านมาในวันศุกร์)

วันศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
-      ครูให้นักเรียนสังเกตผักที่นำมา
-      ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนรู้จักผักอะไรบ้างรสชาติเป็นอย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับชื่อและรสชาติของผักที่นักเรียนนำมา

ทักษะการสื่อสาร
-        มีมารยาทในการพูดสื่อสารทั้งผู้รับสารและส่งสาร เช่น เป็นผู้เสนอความคิดเห็น และรับรับฟังความคิดเห็น
-        พูดอธิบายชื่อผัก และน้ำพริกให้ผู้อื่นเข้าใจได้

ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำ Mind Mapping ความรู้ก่อนเรียน
จัดลำดับสิ่งที่ต้องการเรียนในปฏิทินรายการเรียนรู้รายสัปดาห์ได้อย่างเหมาะสม
- คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม เช่น แบ่งหน้าที่เพื่อให้งานเสร็จเร็วขึ้นและสวยงาม

ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานเป็นกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้


Week
Input
Process
Output
Outcome
2
19-23
ม.ค.
58



ชง :
-        ครูนำน้ำพริก 5 ชนิดและผักที่นักเรียนนำมา ให้นักเรียนชิม โดยแต่ละกลุ่มจะชิมคนละชนิดกัน
-        ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าน้ำพริกที่ได้ชิมเป็นน้ำพริกอะไร มีส่วนผสมอะไรบ้าง?”
เชื่อม:
-      ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับชื่อและส่วนผสมของน้ำพริก
-      นักเรียนเขียน Web ชื่อน้ำพริก วัตถุดิบ และผักที่รับประทานคู่กับน้ำพริก
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อย่างไร?”
-      “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
-      “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้ (การบ้าน นักเรียนสอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับการทำน้ำพริกปลาร้าและน้ำพริกปลาทู)

ทักษะการคิดสร้างสรรค์
-      คิดวางแผนเนื้อหาและกิจกรรมที่อยากเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเรื่องที่อยากเรียน
-      ออกแบบภาพประกอบปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์ สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้ ได้สวยงามเหมาะสมและสร้างสรรค์

คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นได้
-  รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อกลุ่มรับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น

กิจกรรม









ชิ้นงาน

























1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์ที่ 2 นี้ พี่ป.2 ได้ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ โดยช่วยกันเสนอสิ่งที่อยากจะเรียนรู้และน้ำพริกที่ตนเองอยากทำ นอกจากนี้พี่ๆ ยังได้เขียนสิ่งที่ตนเองรู้แล้วและอยากรู้ เมื่อทุกคนเสนอความคิดเห็นครบ จึงแบ่งหน้าที่กัน กลุ่มละ 2 คน เขียนปฏิทินการเรียนรู้ สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้ และป้ายชื่อหน่วยการเรียนรู้ วันพฤหัสบดี พี่ๆ ได้ทำงานต่อจากวันอังคารที่ผ่านมา และครูให้การบ้านพี่ๆ เตรียมผักพื้นมามาในวันศุกร์ วันศุกร์ครูนำน้ำพริกหลายชนิดมาให้พี่ๆ ได้ชิมร่วมกับผักที่พี่ๆ นำมา โดยพี่ๆ แบ่งเป็นกลุ่มชิมและทายชื่อน้ำพริก พร้อมทั้งบอกส่วนผสมในน้ำพริกนั้น มีบางกลุ่มสามารถทายชื่อน้ำพริกถูก เช่น
    กลุ่มที่ได้ชิมน้ำพริกปลาร้าบอง “ครูค่ะหนูว่า ปลาร้าบองค่ะ หนูเคยกิน” พี่ฟีฟ่า
    กลุ่มที่ ได้ชิมน้ำพริกเผา “ครูค่ะหนูว่า น้ำพริกเผาค่ะ มีน้ำมันด้วย มีรสหวาน อร่อยหนูชอบ” พี่แป๋มบอก
    เมื่อชิมครบทุกคนพี่ๆ แต่ละกลุ่มเขียนสิ่งที่ตนเองคิดว่ามีในน้ำพริกในรูปแบบ Web และนำเสนอให้เพื่อนกลุ่มอื่นๆ ได้กลุ่มอื่นๆ และคุณครูได้ฟัง
    จากนั้นครูและนักเรียนทบทวนความรู้ที่ได้เรียนรู้มาทั้งสัปดาห์ และนักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ และการบ้านพี่ๆ คือ สอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับน้ำพริกที่ทำจากปลาร้าและปลาทูมีน้ำพริกอะไรบ้างและมีวิธีการตำอย่างไร อีกทั้งจะรับประทานกับผักพื้นบ้านอะไรได้บ้าง

    ตอบลบ