เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 Topic: " คุณค่าของน้ำพริก "
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เข้าใจและสามารถทำน้ำพริกสูตรต่างๆ ที่มีคุณค่า ถูกหลักโภชนาการ เลือกรับประทานได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง

week1


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเกิดความใคร่รู้อยากเรียนรู้เรื่องน้ำพริก อีกทั้งนักเรียนสามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
1
12-16
..
58
โจทย์ : สร้างฉันทะ/สร้างแรงบันดาลใจ

Key Questions :
-   นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรมากที่สุดใน Quarter นี้ เพราะเหตุใดจึงอยากเรียนเรื่องนั้น
-   นักเรียนจะตั้งชื่อสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ว่าอย่างไร

เครื่องมือคิด :
- Brainstorms 
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการตำน้ำพริกปลาทู
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการตำพริกป่น
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการตั้งชื่อหน่วยการเรียน
วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
-      ครูให้นักเรียนสังเกต พริก ปลาทู หอม กระเทียม แตงกวา (ส่วนผสมในการตำน้ำพริก)
-      ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-      “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
-      “นักเรียนคิดว่าสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง เพราะเหตุใด?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็น พร้อมกับเมนูอาหารที่ทำจากส่วนผสมดังกล่าว
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-   “นักเรียนจะตำน้ำพริกปลาทูได้อย่างไร?”
-   “นักเรียนคิดว่ามีขั้นตอนการตำอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีตำน้ำพริกปลาทู
ใช้ : นักเรียนแบ่งกลุ่ม 5-6 คน ลงมือตำน้ำพริกปลาทูจากส่วนผสมและอุปกรณ์ที่มีอยู่
ภาระงาน
-      แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรสชาติ และส่วนประกอบในน้ำพริกปลาทู
-      เตรียมส่วนผสมอุปกรณ์ในการตำน้ำพริก/ตำพริกป่น
-      แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการคั่วพริก การตำพริกป่น
-      แสดงความคิดเห็นให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้


ความรู้
สามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ใช้ส่วนผสม (เช่น พริก ปลาทู) อุปกรณ์ (เช่น กระทะ ครก สาก)   ที่มีในตำน้ำพริกให้อร่อย
- มีกระบวนการและขั้นตอนในการตำน้ำพริกปลาทูและพริกป่น
- แก้ปัญหาได้ เมื่อน้ำพริกมีรสชาติ เค็ม เผ็ด หรือ หวานเกินไป
- นำความรู้ที่ได้จากการตำน้ำพริกปลาทู และพริกป่น ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

Week
Input
Process
Output
Outcome
1
12-16
..
58
- Blackboard Share
 - วิธีตำน้ำพริกปลาทู
 - เสนอชื่อหน่วยการเรียนรู้
- Round Robin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยววิธีตำน้ำพริกปลาทู และพริกป่น
-      Card and Chart เขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้ใน Quarter นี้ พร้อมให้เหตุว่าเพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้
-      Show and Share 
-      นำเสนอ น้ำพริกของตนเอง
-      นำเสนอชาร์ตความรู้การทำน้ำพริก/เครื่องปรุง
- Wall Thinking ติดชิ้นงานชาร์ตวิธีตำน้ำพริกปลาทูและพริกป่น

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน

ชง :
-     นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอน้ำพริกปลาทูของตนเอง
-      นักเรียนชิมน้ำพริกของเพื่อนกลุ่มอื่นๆ
-      ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่ารสชาติน้ำพริกปลาทูของเพื่อนๆ แต่ละกลุ่มเป็นอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรสชาติน้ำพริกปลาทูของแต่ละกลุ่มและร่วมกันเสนอแนะเพิ่มเติม
(การบ้าน นักเรียนเตรียมพริกแห้ง และกระทะสำหรับทำพริกป่น)

วันอังคาร ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
-      ครูให้นักเรียนสังเกตพริกแห้งที่นำมา (การบ้านเมื่อวันจันทร์)
-      ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “พริกแห้งทำมาจากพริกอะไร มีวิธีการทำอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับพริกที่นำมาทำพริกแห้งและวิธีการทำพริกแห้ง
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-     “นักเรียนคิดว่าพริกแห้งนำมาทำอาหารอะไรได้บ้าง?”
-     “นักเรียนคิดว่าพริกป่นมีขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับอาหารจากพริกแห้งและขั้นตอนการทำพริกป่น
ชิ้นงาน
น้ำพริกปลาทูและพริกป่น
- ชาร์ตวิธีตำน้ำพริกปลาทูและพริกป่น
- Card and Chard เรื่องที่อยากเรียนรู้
- ป้ายชื่อหน่วยการเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

 ทักษะการสื่อสาร 
พูดนำเสนอส่วนผสมและวิธีการตำน้ำพริกปลาทู และพริกป่นให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
- รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้อื่น และนำกลับไปพัฒนาให้ดีขึ้น เช่น รสชาติน้ำพริกปลาทูเผ็ดไป ควรเติมเนื้อปลาทูเพิ่มอีกเพื่อให้รสเผ็ดลดลง

ทักษะการจัดการข้อมูล
ลำดับขั้นตอนการทำน้ำพริกปลาทูได้อย่างเหมาะสม
- คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาจากการตำน้ำพริก และกระบวนการทำงานกลุ่ม

ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-      ทำงานเป็นกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นในการปรุงรสชาติน้ำพริกได้
-      มีจิตอาสาในการเตรียมและเก็บอุปกรณ์หลังการทำงานของเพื่อนๆ ในแต่ละกลุ่ม

Week
Input
Process
Output
Outcome
1
12-16
..
58
สื่อ/อุปกรณ์ :
-      บรรยากาศในชั้นเรียน
-      อุปกรณ์เครื่องครัว เช่นจาน ช้อน ครก สาก
-      ส่วนผสมของน้ำพริก เช่นพริก ปลาทู หอม และกระเทียม
-      ส่วนผสมของพริกป่น เช่นพริกแห้งและใบมะกรูด
-      คลิปเพลง “น้ำพริก”
ใช้ :
-      นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือตำพริกป่น
-      นักเรียนนำพริกป่นมาทำเป็นพริกเกลือรับประทานกับผลไม้ที่โรงเรียนเช่น มะขามป้อม มะขาม

วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับกิจกรรมที่ผ่านมา ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเจอปัญหาอะไรบ้างระหว่างทำงาน เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น และนักเรียนมีวิธีแก้ไขอย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่พบและวิธีการแก้ไขระหว่างที่ตำน้ำพริก
ชง :
-      นักเรียนดูคลิปเพลง “น้ำพริก”
-      ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ในเพลงมีน้ำพริก มีน้ำพริกอะไรบ้าง และนักเรียนรู้จักหรือเคยรับประทานน้ำพริกใดบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับชื่อน้ำพริกจากคลิปเพลง และน้ำพริกที่นักเรียนรู้จัก
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรมากที่สุดใน Quarter นี้ เพราะเหตุใด
เชื่อม : นักเรียนเลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้ โดยผ่านเครื่องมือ Card and Chart จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้ใน Quarter นี้  

ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ตกแต่งถ้วยน้ำพริกให้สวยงาม น่ารับประทาน

คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน การร่วมกิจกรรมจนสำเร็จ
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรุงรสชาติน้ำพริก
-  รับผิดชอบ รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการเตรียมส่วนผสม อุปกรณ์ต่างๆ และระหว่างการตำพริกป่น
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น ในการตำน้ำพริก และแสดงความคิดเห็น

Week
Input
Process
Output
Outcome
1
12-16
..
58

ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนของเราว่าอย่างไร เพราะเหตุใดจึงตั้งชื่อนั้น?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับชื่อหน่วยการเรียนรู้ “น้ำพริก”
ใช้ : นักเรียนร่วมกันทำป้ายชื่อหน่วยการเรียนรู้ “น้ำพริก”

วันศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาทั้งสัปดาห์ พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อย่างไร?”
-      “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
-      “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา



กิจกรรม




ขิ้นงาน

























1 ความคิดเห็น:

  1. วันแรกของการเปิดเรียน Quarter 4 พี่ป.2 ตื่นเต้นตั้งแต่ครั้งมาถึงหน้าห้อง เพราะสงสัยว่ามีครกอยู่ในห้องเรียน ที่บอร์ดมีคำถาม เกี่ยวกับน้ำพริก บางคนบอกว่า จะได้ตำส้มตำบ้าง บางคนบอกทำน้ำพริก เพราะอ่านจากบอร์ด เมื่อถึงชั่วโมงการเรียน ครูนำวัตถุดิบและเครื่องปรุงออกมาให้นักเรียนได้สังเกต พี่ๆหลายคนสามารถคิดอาหารที่มีส่วนผสมของปลาทู พริก กระเทียมและหอมได้ ว่าเป็นน้ำพริกปลาทู จากนั้นนักเรียนแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คนทำน้ำพริกปลาทู เมื่อทำเสร็จแล้วทุกคนจะได้ชิมน้ำพริกของแต่ละกลุ่ม โดยครูแจกสติกเกอร์ให้ทุกคน และถ้าชอบกลุ่มไหนก็ติดให้กลุ่มนั้น ปรากฏว่าเพื่อให้กลุ่ม 5 มากที่สุด จากนั้นทุกคนได้สนทนาแลกเปลี่ยนว่าแต่ละกลุ่มทำน้ำพริกอย่างไร มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มเดียวที่มีการนำพริกไปต้มให้สุกก่อนนำมาตำ ส่วนกลุ่มที่เพื่อนชอบที่สุดบอกว่า ใส่น้ำตาลเพิ่มความหวานและไม่ใส่พริกเยอะก็จะไม่เผ็ดมาก กลุ่มที่2 บอกว่ากลุ่มตนใส่น้ำมะขามมากไปทำให้เปรี้ยวและตำจนละเอียดมากไป จากนั้นครูให้การบ้านนักเรียนนำพริกแห้งและกระทะมา
    วันอังคารครูและนักเรียนนำพริกมาวางร่วมกัน ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ถ้าจะทำพริกป่นต้องทำอย่างไรบ้าง”
    พี่ลาร์ด “นำพริกไปคั่วครับ”
    ครูถาม “การคั่วต้องเริ่มจากทำอะไรก่อน” พี่ๆ ช่วยกันตอบ ก่อไฟ ตั้งกระทะ ใส่พริก ใบมะกรูดเพิ่มความหอม เมื่อสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดกันแล้ว พี่ๆ จึงเริ่มแบ่งหน้าที่กัน ระหว่างที่คั่ว ครูตั้งคำถามต่อ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ต้องนำพริกออกมาตำได้แล้ว
    พี่ก้อง “พริกจะเริ่มมีสีดำครับ” เพื่อนคนอื่นๆ ตอบเหมือนกัน
    พี่ๆ ช่วยกันคั่วและตำจนได้พริกป่น หลังจากนั้นครูพาพี่ๆ ทำพริกเกลือจิ้มกับผลไม้ เช่น ฝรั่ง มะม่วง มะขามป้อม พี่ๆ มีความสุขกับกิจกรรมวันนี้ แต่ก็มีบางคนพริกป่นเข้าตา ครูจึงถามพี่ๆ ว่าจะทำอย่างไรเมื่อพริกเข้าตา เพื่อนช่วยตอบว่า “ล้างมือให้สะอาด ลืมตาในน้ำ” และให้ทุกคนระวังตัวเองมากขึ้น
    วันพฤหัสบดี พี่ป.2 ได้ฟังเพลง “น้ำพริก” ซึ่งมีน้ำพริกอยู่หลายชนิด พี่ๆช่วยกันจำชื่อน้ำพริกมาเขียนไว้รวมกัน จากนั้นครูตั้งคำถาม “นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน Quarter นี้ เพราะอะไร พี่ๆ ทุกคนเลือกจะเรียนหน่วยน้ำพริก เพราะบางคนอยากรู้ว่าทำอย่างไร บางคนอยากกินน้ำพริก
    วันศุกร์ครูให้พี่ๆ ได้คิดชื่อหน่วยการเรียนของตนเอง โดยพี่ๆ ได้เสนอมาหลายชื่อ แต่สุดท้ายทุกคนชอบชื่อ “สวนน้ำพริกแสนอร่อย” มากที่สุดจึงนำมาเป็นชื่อหน่วยการเรียนรู้ใน Quarter นี้ หลังจากนั้นครูและพี่ๆ ได้ทบทวนความรู้ในสัปดาห์นี้และเขียนเป็นสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ของตนเอง

    ตอบลบ